วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2551

บ้านดิน

รู้จักบ้านดินบ้านดิน คือบ้านธรรมชาติ บ้านที่สามารถหาวัสดุจากรอบข้างนำมาสร้างเป็นบ้าน บ้านหนึ่งหลังอาจใข้ดินที่อยู่ข้างบ้านกับกับแรงกาย ค่อย ๆ ลงแรงสร้างจนกลายเป็นบ้านคุณภาพ โดยใช้ทุนเพียงเล็กน้อยบ้านดิน ต้องใช้แรงงานในการสร้างมาก ถึงแม้จะใช้ต้นทุนในการสร้างต่ำ บ้านดินจึงเหมาะสำหรับการลงแรงช่วยกันสร้าง อาจใช้เวลาว่างในช่วงวันหยุด มาช่วยกันสร้าง สร้างบ้านดิน 1 หลัง มีคุณค่ามากกว่าบ้าน 1 หลัง บ้านอาจจะหมายถึง มิตรภาพ, สุขภาพ, ความภูมิใจ ปลดปล่อยการเป็นทาสจากของเงินตราที่เราต้องถูกหลอกชั่วชีวิตให้ทำงานอย่าง หามรุ่งหามค่ำ บ้านดินใช้ทุนน้อย แต่คุณค่ามากมายจนไม่สามารถประเมินค่าได้บ้านดิน คือนิยามของความสุข หนึ่งชีวิตหากต้องการมีบ้านสักหลังหนึ่งอาจต้องใช้เวลาชั่วชีวิตเพื่อหาเงิน หรือใช้หนี้ ซึ่งแตกต่างจากการสร้างบ้านธรรมชาติหรือบ้านดินโดยสิ้นเชิง แค่แรงกายกับเงินอีกเพียงเล็กน้อย ในระยะเวลาไม่กี่เดือน เราสามารถมีบ้านเป็นของตนเองได้แล้วบ้านดินที่พบเห็นมีวิธีการสร้างหลายเทคนิค ได้แก่แบบปั้น (Cob) เป็นเทคนิคปั้นบ้านขึ้นเป็นหลังโดยใช้ดินเหนียวผสมกับฟางข้าว ปั้นขึ้นเรื่อย ๆ บ้านที่สร้างด้วยเทคนิคนี้ สามารถก่อฝาผนังได้สูงประมาณครั้งละ 1 ฟุต ต้องรอให้ดินแห้งสนิท ถึงจะปั้นก่อชั้นต่อไปได้ บ้านดินที่สร้างด้วยเทคนิคนี้จะมีความแข็งแรงมาก กว่าเทคนิคอื่น ๆแบบอิฐดิบ (Adobe Brick) เทคนิคนี้ จะใช้วิธีนำดินมาผสมกับเส้นใย เช่น แกลบ เศษหญ้า หรืออาจะใช้ฟางข้าว นำมาผสมกับโคลน และปั้นเป็นอิฐดิน และนำมาก่อเป็นฝาผนังบ้าน โดยใช้โคลนเป็นตัวประสาน วิธีการสร้างบ้านด้วยเทคนิคนี้ง่าย สามารถก่อสร้างได้รวดเร็ว มีความแข็งแรง เทคนิคนี้เป็นที่นิยมในเมืองไทย แต่อาจต้องใช้แรงงานมากแบบโครงไม้(wattle&daub) เริ่มต้นทำโครงสร้างเป็นไม้สานกันเป็นตาราง และนำฟางชุบด้วยโคลนโป๊ะเป็นฝาผนัง การสร้างบ้านด้วยเทคนิคนี้ สามารถสร้างได้ง่าย ใช้แรงน้อย ถ้าทำฝาผนังให้หนา มีความแข็งแรง ไม่แพ้การก่อด้วยอิฐดิบ ข้อจำกัดในเรื่องของการฉาบ อาจจะต้องฉาบหลายครั้ง ถ้าต้องการให้ฝาผนังเรียบ แห้งช้าหากอยู่ในร่มแบบใช้ดินอัด (rammed earth) เป็นการก่อสร้างฝาผนังโดยทำแบบพิมพ์ แล้วนำดินเหนียวอัด เป็นฝาผนัง เทคนิคนี้ ไม่ค่อยพบในเมืองไทยแบบใช้ท่อนไม้หรือหิน (cord wood or stones) เป็นการก่อสร้างฝาผนัง โดยการนำเศษไม้หรือหิน มาก่อเป็นฝาผนังบ้าน โดยใช้ดินเป็นตัวประสาน และทำการฉาบด้วยดินอีกชั้นหนึ่งแบบกระสอบทราย (sand bag) เป็นการก่อสร้างบ้านโดยใช้กระสอบใส่ทรายให้เต็มและนำมาวางเรียง อาจจะใช้ลวดหนาม เป็นตัวช่วยยึดให้กระสอบไม่เลือนไหล และฉาบด้วยดินอีกครั้ง เทคนิคนี้ มีการใช้มากในพื้นที่ ที่เกิดสงครามหรือมีการอพยบ พื้นที่ไม่สามารถเข้าไปถึงได้โดยง่าย อาจมีการส่งกระสอบทรายโดยทางเครื่องบินและส่งเจ้าหน้าที่ไปช่วยแนะนำวิธี เพียง 1 - 2 คน ก็สามารถสร้างบ้านได้ในระยะเวลาที่รวดเร็ว หลังจากที่ทิ้งกระสอบทรายลงไป ใช้เป็นเพียง 2 - 3 วัน ก็จะมีบ้านเกิดขึ้นจำนวนมากเอก สล่าเอื้องจัน28 มกราคม 2548



บ้านดิน อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนที่อยากมีบ้านบ้านหนึ่งหลัง ต้องตัดต้นไม้ที่มีอายุครึ่งค่อนชีวิตของคน หรือระเบิดภูเขาหิน เพื่อนำมาสร้าง ป่าไม้หรือภูเขาหินเหล่านี้ คงไม่มีโอกาสที่จะกลับมาเป็นแบบเดิมได้อีกต่อไป หนึ่งหลังที่ทำ สิบหลัง ร้อยหลัง ที่สร้างขึ้น ทำให้ป่าเขาและธรรมชาติที่มีอยู่น้อยแล้ว จะต้องหมดไป ลูกหลานของเราคงจะไม่มีโอกาส ได้เห็น ได้สัมผัสกับต้นไม้ใหญ่ ภูเขาหิน สิ่งเหล่านี้จะเป็นเพียงภาพหรือสิ่งที่จำลอง เอาไว้ให้พวกเขาเหล่านั้นได้ดูเท่านั้นบ้านปกติหนึ่งหลัง มีอายุประมาณ 50 ปี ปูนจะเริ่มร่อน ตามกฏหมายต้องรื้อทิ้ง แต่บ้านดิน ที่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นห้องแถว 2 ชั้น ที่ชาวจีนล่องตามน้ำโขง มาค้าขายและได้สร้างขึ้น ปัจจุบันมีอายุเกือบ 100 ปีแล้ว ถึงแม้ไม้ที่เป็นองค์ประกอบบางส่วนจะผุกร่อนไป แต่ในส่วนของดินก็ยังคงอยู่ ไม่เสื่อมสลาย บ้านดินจึงเป็นบ้านที่มีความคงทนแข็งแรง คุณภาพ เทียบเท่า หรือดีกว่าบ้านปกติบ้านดินถูกสร้างขึ้นมาโดยการเปลี่ยนรูปจากดินให้เป็นบ้านเท่านั้น เมื่อเราสร้างขึ้นแล้วไม่พอใจเราสามารถรื้อและสร้างใหม่ได้ทันทันที บ้านดินจะเปลี่ยนบ้านกลับเป็นดินดังสะภาพเดิม มีคนเคยกล่าวไว้ว่า "เมื่อรื้อลงบ้านดินสามารถปลูกผักได้ทันที" ชึ่งตรงกันข้ามกับบ้านปูน ที่ต้องเสียเวลาในการจัดการขยะปูนกองโต บ้านดินจึงเป็นบ้านที่เป็นมิตรกับธรรมชาติอย่างแท้จริงบ้านดิน มีอุณภูมิภายใน 24 - 26 องศาเซ็นเซียส ตลอดทั้งปี ซึ่งเป็นอุณภูมิที่ มนุษย์สามารถอยู่ได้อย่างสบาย ไม่ต้องติดแอร์ อีกทั้งฝาผนังบ้านดินยังสามารถดูดซึมความชื้นได้ดี ดังนั้นบ้านดิน จึงช่วยปรับความชื้นภายในได้เป็นอย่างดี ดังที่มีผู้กล่าวว่า "บ้านดินสามารถหายใจได้ บ้านดินคือบ้านที่มีชีวิต"ในประเทศเกาหลี เชื่อว่าธาตุที่อยู่ในตัวเราประกอบไปด้วย ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ สมัยนี้คนเราแทบจะไม่ได้สัมผัสกับดิน จึงทำให้ขาดสมดุลภายในร่างกาย การได้สัมผัสกับดิน จะทำให้เกิดความสมดุลขึ้น คนเกาหลียังเชื่อว่า ถ้าคนเราอยู่ในบ้านที่สร้างด้วยดินธาตุในดินจะระเหยแซกซึมเข้าสู่ร่างกาย ทำสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งอาจจะจริงตามที่ได้พบเห็น เดียวนี้คนเราป่วยเข้าโรงพยาบาลกันเป็นจำนวนมาก เพราะไม่ได้สัมผัสกับดิน บางคนยังกล่าวว่า บ้านปูนดูดพลังจากเราไปส่วนดินนั้นให้พลังกับเราบ้านดินเป็นบ้านที่ราคาถูก ถ้าคิดเป็นสัดส่วนของบ้านปกติ บ้านดินจะใช้ทุนเพียง 30% ของบ้านปกติ ถ้าเราสร้างบ้านปกติหลังละ 4 แสนบาท บ้านดินที่สมบูรณ์แบบ จะใช้ทุนเพียง 1 แสนเศษเท่านั้น และบ้านดินยังใช้เวลาในการก่อสร้าง ไม่ถึง 2 อาทิตย์ สามารถเข้าอยู่อาศัยได้ บ้านดินจึงเป็นอีกทางเหลือหนึ่งสำหรับคนที่อยากมีบ้าน บ้านปกติหนึ่งหลังอาจใช้เวลาในการสะสมทุนเพื่อก่อสร้าง 20 - 30 ปี หรือครึ่งหนึ่งของการมีชีวิต แต่บ้านดินหนึ่งหลังสามารถ สร้างได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง ถ้าเราใช้เวลาว่างจากการทำงานเพียงแค่วันละ 2 - 3 ชั่วโมงในการสร้างบ้าน ในระยะเวลา 3 เดือน เราจะได้บ้านดินคุณภาพ ขนาด 2 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ ได้โดยไม่ยาก
page="a_baandin";

jsver=1.2;sc_solution=screen.width+'x'+screen.height;sc_color=(navigator.appName.indexOf('Microsoft')!=-1)?screen.colorDepth:screen.pixelDepth;if(sc_color=='undefined'){sc_color='undefined';}
jsver=1.3;

var websiteID='baandin.com';


ขั้นตอนในการดำเนินการก่อสร้างบ้านดินขั้นตอนในการก่อสร้างบ้านดิน อาจจะแตกต่างจากการก่อสร้างบ้านทั่วไป เนื่องจากบ้านดินไม่มีระบบโครงสร้าง บ้านดินใช้กำแพงรับน้ำหนัก เพื่อให้การดำเนินการ ก่อสร้างกระชับ ทำได้รวดเร็ว การดำเนินการก่อสร้างบ้านดินมีขั้นตอนดังนี้ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกบ้าน พื้นที่สำหรับทำบ้านดิน ควรเป็นพื้นที่ ที่น้ำท่วมไม่ถึง ไม่ใช่ทางน้ำไหลบ่า หากเป็นพื้นที่ถมดินใหม่ควรถมทิ้งไว้ประมาณ 1 ปี หรือผ่านช่วงฤดูฝนสัก 1 ครั้ง ขั้นตอนที่ 2 การทำอิฐดิน การทำอิฐดินสำหรับผู้ที่ออกแรงเป็นประจำจะทำอิฐดินได้วันละ 70 - 100 ก้อน การตากอิฐดินใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน เมื่อตากอิฐได้ประมาณ 2-3 วันให้พลิกอิฐขึ้นตั้งทางด้านแนวนอน และทำการแต่งก้อนอิฐในช่วงเวลานี้ จะมีฝุ่นกระจายออกมาน้อย เมื่ออิฐแห้งสนิทดีแล้วควรนำอิฐมากองรวมกันไว้กลางบ้าน เพื่อสะดวกและก่อกำแพงได้รวดเร็ว การขนย้ายควร ทำเพียงครั้งเดียว จากบริเวณตากอิฐมาที่กลางบ้าน ขั้นตอนที่ 3 การทำรากฐานบ้าน การทำรากฐานบ้านดิน ควรทำรากฐานให้เสร็จและถมดินให้เรียบร้อยก่อนขนย้ายอิฐดินขึ้นมากองไว้กลางบ้าน ขั้นตอนที่ 4 การก่อกำแพงบ้านหลังจากที่นำอิฐดินมากองไว้กลางบ้านเรียบร้อยแล้ว ช่วงแรกของการก่อกำแพงบ้านจะเร็ว หากก่อขึ้นสูง การทำงานอาจจะช้าลงเพราะ ต้องส่งอิฐดินขึ้นสูง ช่วงนี้อาจติดตั้งวงกบประตูหน้าต่างได้ หรืออาจจะเว้นช่องเอาไว้ติดตั้งในช่วงฉาบ แรงงาน 3 คนสามารถก่ออิฐดินได้วันละ 300 - 500 ก้อน ขั้นตอนที่ 5 การขุดบ่อส้วม ในระหว่างที่ดำเนินการก่อกำแพงบ้าน หากช่วงเย็น วัสดุที่เตรียมไว้สำหรับก่อหมดอาจใช้ช่วงเวลานั้นขุดบ่อส้วมได้ หรืออาจจะขุดหลังจากที่ก่อกำแพงเสร็จขั้นตอนที่ 6 การเดินระบบไฟฟ้า ท่อน้ำดี ท่อน้ำเสีย ก่อนฉาบบ้าน ควรดินท่อน้ำดี น้ำเสีย ท่อส้วมให้เรียบร้อยก่อน เพราะจะทำให้ไม่ต้องเสียเวลา เจาะกำแพงหลังจากที่ฉาบเสร็จ ขั้นตอนที่ 7 ฉาบกำแพงบ้าน การฉาบกำแพงบ้าน ควรฉาบก่อนที่จะขึ้นโครงสร้างหลังคา เพราะหลังจากที่ฉาบเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะทำให้กำแพงบ้านมีความแข็งแรงมากขึ้น และยังช่วยให้แดดส่องกำแพงบ้านได้เต็มที่ ช่วยให้ดินที่ฉาบแห้งเร็ว ขั้นตอนที่ 8 ทำโครงสร้างหลังคา โครงสร้างหลังคา จะมีส่วนที่เชื่อมโยงกับกำแพงบ้าน อาจจะทำโครงสร้างหลังคาไปพร้อมกับงานฉาบได้ หลังจากที่วางอะเส ของโครงสร้างหลังคาเสร็จแล้ว อาจใช้ดินผสมฟางฉาบปิดอะเส เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ขั้นตอนที่ 9 มุงหลังคา การมุงหลังคาบ้าน ควรมุงหลังจากกำแพงบ้านแห้งสนิทดีแล้ว จะช่วยให้การดำเนินการเร็วขึ้น ขั้นตอนที่ 10 ทำเพดานบ้าน หลังจากมุงหลังคาบ้านเสร็จสิ้น ดำเนินการทำโครงสร้างเพดานและติดตั้งเพดานให้เสร็จสิ้น รวมทั้งทาสีเรียบให้เรียบร้อย จะช่วยให้ไม่ต้องย้ายนั่งร้านหลายครั้งขั้นตอนที่ 11 ฉาบสี หลังจากทำเพดานบ้านเสร็จสิ้น เริ่มต้นทาสีกำแพงบ้าน ควรเริ่มด้านในบ้านก่อน เพราะภายในบ้าน จะได้รับแสงแดดน้อย และอากาศทายเทได้ไม่ดีเท่าบริเวณนอกบ้าน จะทำให้สีแห้งช้า เมื่อฉาบสีด้านในบ้านเสร็จเรียบร้อย อาจจะเก็บรายละเอียดบริเวณขอบประตูหน้าต่างอีกครั้งแล้วทำการฉาบสีพื้นบ้านหรือปูกระเบื้องหากต้องการ ขั้นตอนที่ 12 เทพื้น การเทพื้น หากเป็นพื้นดิน อาจจะเทพื้นทิ้งไว้หลังจากฉาบกำแพงบ้านเรียบร้อยแล้ว เพราะพื้นดินจะใช้เวลานานกว่าที่จะแห้งสนิท อาจใช้เวลาอย่างน้อย 1 อาทิตย์ หากยังไม่ได้มุงหลังคาจะช่วยให้พื้นแห้งไวขึ้น หากเป็นพื้นปูนสามารถเทหลังจากที่ทาสีบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะทำให้ไม่ต้องจัดการกับสีที่ฉาบและร่วงลงมามากนักขั้นตอนที่ 13 ติดตั้งบานประตู หน้าต่าง หลังจากฉาบสีและเทพื้น เสร็จสิ้นแล้ว ทำการติดประตูหน้าต่างและทาสี ควรหากระดาษหรือผ้ายางรองพื้นกันสีตกลงพื้น ขั้นตอนที่ 14 ติดตั้งหลอดไฟ ติดตั้งสุขภัณฑ์ ขั้นตอนสุดท้ายเป็นการ ติดตั้งระบบไฟฟ้า ก๊อกน้ำ ชักโครกเอก สล่าเอื้องจัน20 มกราคม 2550

page="build_baandin";

jsver=1.2;sc_solution=screen.width+'x'+screen.height;sc_color=(navigator.appName.indexOf('Microsoft')!=-1)?screen.colorDepth:screen.pixelDepth;if(sc_color=='undefined'){sc_color='undefined';}
jsver=1.3;

var websiteID='baandin.com';

ความจริงเกี่ยวกับงบประมาณในการสร้างบ้านดินถึงแม้บ้านดิน จะเป็นบ้านธรรมชาติที่สามารถหาวัสดุที่อยู่รอบข้างนำมาสร้างเป็นบ้านได้ แต่อย่างไรก็ตามวัสดุต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการก่อสร้างบ้านดิน เช่น ฟางข้าว แกลบ ดิน ฯลฯ ก็จะมีราคาที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่บางพื้นที่สามารถหาได้ง่าย วัสดุบางอย่างแทบจะได้มาฟรี ดินอาจจะขุดมาจากข้างบ้าน แกลบอาจจะไปเอามาจากโรงสีภายในชุมชน บ้านดินในชนบท จึงใช้งบประมาณในการก่อสร้างน้อยมากวัสดุสำหรับก่อสร้างบ้านดินเป็นวัตถุดิบที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการแปรรูป ดังนั้นการทำอิฐดินหนึ่งก้อนต้องผ่านกระบวนการผสมผสานวัตถุดิบต่างๆ เข้าด้วยกัน และใช้แรงงานเหยียบย่ำเพื่อให้ได้ก้อนอิฐตามจำนวนที่ต้องการ ซึ่งแตกต่างจากบ้านปกติ วัสดุส่วนใหญ่ที่ใช้จะเป็นแบบกึ่งสำเร็จรูป เช่นอิฐบล็อก ดังนั้นบ้านดินจึงใช้แรงงานในการก่อสร้างมาก แรงงาน 1 คน อาจจะสามารถทำอิฐดินจนเสร็จสิ้น 70 ก้อนต่อวัน การสร้างบ้านดิน จึงต้องจ่ายค่าแรงในการก่อสร้างจะมากกว่าบ้านปกติการสร้างบ้านดิน หากไม่เน้นความประณีต สวยงาม เพียงเป็นที่อยู่อาศัยที่เรียบง่าย งบประมาณที่ใช้จะน้อย หากต้องการบ้านดินที่มีคุณภาพสูง มีความประณีต สวยงาม จำเป็นต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญสูง และอาจต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการก่อสร้างที่นานขึ้น การฉาบสีบ้าน เราสามารถฉาบแบบง่าย ๆ ใช้เวลาเพียงครึ่งวันสำหรับบ้านหลังเล็ก แต่ถ้าหากต้องการผิวที่ละเอียด มีความแข็งแรงทนทาน จะต้องทำการรีดให้ผิวเรียบและต้องฉาบหลาย ๆ ครั้ง ขั้นตอนเหล่านี้ทำให้ต้นทุนในการก่อสร้างเพิ่มขึ้นได้ การรับจ้างสร้างบ้านดินในราคาถูกกว่าความเป็นจริง จะต้องดำเนินการอย่างรีบร้อนเพื่อไม่ให้ขาดทุน ผลงานที่ออกมาจึงไม่ดีเท่าที่ควร และอาจเกิดปัญหาได้ในภายหลัง การสร้างบ้านดินคุณภาพสูง การเลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพและมีราคาแพง ราคาของบ้านดินอาจจะเท่ากับบ้านปกติหรือบางครั้งอาจจะมีราคาสูงกว่าบ้านปกติก็อาจเป็นได้ ราคาของบ้านดิน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่จะสร้าง หากเป็นพื้นที่ ในเมืองราคาของบ้านดินจะสูง เพราะต้องซื้อวัสดุทุกอย่าง เช่นในกรุงเทพ ต้องตอกเสาเข็ม บ้านดินในเมืองจึงมีราคาสูงกว่าในชนบท โดยปกติแล้ว การสร้างบ้านดินจะไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนของโครงสร้างและผนัง งบประมาณในการก่อสร้างบ้านดิน ราคาจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 60 – 70 ของบ้านปกติบ้านดินขนาด 2 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ มุงด้วยกระเบื้องลอนสีขาว โครงหลังคาเหล็ก มีห้องนั่งเล่น สามารถสร้างได้โดยใช้งบประมาณ 3.5 แสนบาท หากสร้างในกรุงเทพฯ งบประมาณอาจจะสูงขึ้นถึง 5.5 แสนบาท เป็นต้นเอก สล่าเอื้องจัน1 เมษายน 2549

ไม่มีความคิดเห็น: