วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการออมทรัพยข้าราชการ

ระเบียบกองทัพบก
ว่าด้วยการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก
พ.ศ.2548
----------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก พ.ศ.2548 ”
ข้อ 2. ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ 3. ให้ยกเลิก
3.1 ระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก พ.ศ.2546
3.2 ระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก (ฉบับที่ 2)
พ.ศ.2547
บรรดา คำสั่ง ระเบียบ คำชี้แจงใดๆ ในเรื่องงานออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก ที่ได้กำหนดไว้แล้ว และที่มีอยู่ในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัด หรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ความในระเบียบนี้แทน
ข้อ 4. คำจำกัดความ
4.1 “การออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก” ใช้คำย่อว่า “อทบ.” หมายถึง กิจการ ที่ดำเนินการเกี่ยวกับการรับฝากเงิน การถอนเงิน การคิดดอกเบี้ยเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝากและการให้กู้เงินทุกประเภทตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ รวมทั้งการนำเงินฝากธนาคาร และผลประโยชน์ที่ได้รับจากการลงทุน โดยมีกรมสวัสดิการทหารบกเป็นผู้ดำเนินการ ทั้งนี้อยู่ในความควบคุมและกำกับดูแลของคณะกรรมการควบคุมการดำเนินงานกิจการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก และ คณะกรรมการสวัสดิการกองทัพบก ตามลำดับ
4.2 “เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝาก” ใช้คำย่อว่า “เงิน อทบ.ฝาก” หมายถึง จำนวนเงินที่ข้าราชการกองทัพบกยินยอมให้หน่วยหักจากเงินได้รายเดือนตามชั้นยศฝากไว้เป็นรายเดือน ตามหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้
4.3 “เงินฝากสมทบ” หมายถึง จำนวนเงินที่ข้าราชการกองทัพบกฝากเพิ่มขึ้นจากเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝาก
4.4 “เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทบำบัดทุกข์” ใช้คำย่อว่า “เงินกู้ อทบ.บำบัดทุกข์” หมายถึง เงินกู้ที่ผู้ฝากกู้ไปเพื่อใช้จ่ายในการดำรงชีพ โดยมีเงินออมทรัพย์ข้าราชการ กองทัพบกฝากเป็นหลักประกันเงินกู้
4.5 “เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทพิเศษ” ใช้คำย่อว่า “เงินกู้ อทบ.พิเศษ” หมายถึง เงินกู้ที่ผู้ฝากกู้ไปเพื่อใช้จ่ายในการดำรงชีพ โดยมีที่ดินเป็นหลักประกันเงินกู้
4.6 “เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทเพื่อการเคหสงเคราะห์” ใช้ คำย่อว่า “เงินกู้ อทบ.เพื่อการเคหสงเคราะห์” หมายถึง เงินกู้ที่ผู้ฝากกู้ไปเพื่อซื้อบ้านพร้อมที่ดิน ซื้อห้องชุดหรือปลูกสร้างอาคารที่พักอาศัยในที่ดินของตนเองหรือคู่สมรส หรือกู้ไปเพื่อการไถ่จำนอง โดยมีที่ดินพร้อมอาคารหรือห้องชุดเป็นหลักประกันเงินกู้
4.7 “เงินทุนดำเนินการ” หมายถึง เงินที่ได้มาจากเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝาก เงินฝากสมทบ เงินกู้ยืม เงินสำรอง และทุนที่จัดสรรและสะสมไว้แต่ละปี รวมทั้งเงินผลประโยชน์ที่เกิดจากการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก
4.8 “หนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก” หมายถึง จำนวนเงินต้นและดอกเบี้ยที่ผู้กู้ส่งชำระคืนยังไม่ครบจำนวนตามสัญญากู้ยืมที่ทำไว้กับผู้ให้กู้
4.9 “หนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกค้างชำระ” หมายถึง จำนวนเงินต้นและดอกเบี้ย ที่ผู้กู้ไม่ส่งชำระคืนให้ตรงตามงวดชำระที่ได้กำหนดไว้ในสัญญากู้ยืมที่ทำไว้กับผู้ให้กู้
4.10 “เจ้าหน้าที่ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก” ใช้คำย่อว่า “เจ้าหน้าที่ อทบ.” หมายถึง
4.10.1 นายทหารสวัสดิการ ตามอัตราของหน่วยนั้น ๆ
4.10.2 ในกรณีที่ไม่มีอัตรานายทหารสวัสดิการ ให้หน่วยตั้งแต่ระดับกองพันหรือเทียบเท่าขึ้นไป แต่งตั้งนายทหารสัญญาบัตร ซึ่งมิใช่นายทหารการเงินหรือเจ้าหน้าที่การเงิน ขึ้นรับผิดชอบหน้าที่การออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกอีกหน้าที่หนึ่ง
4.10.3 สัสดีจังหวัด
ข้อ 5. ประธานกรรมการสวัสดิการกองทัพบก และคณะกรรมการสวัสดิการกองทัพบก มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับกิจการออมทรัพย์และการลงทุนด้วยเงินทุนดำเนินงานดังต่อไปนี้
5.1 ประธานคณะกรรมการสวัสดิการกองทัพบก มีอำนาจหน้าที่
5.1.1 อนุมัติงบประมาณออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประจำปี ที่ผ่านการพิจารณา และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการควบคุมการดำเนินงานกิจการออมทรัพย์ข้าราชการ กองทัพบก
5.1.2 พิจารณาตกลงใจหรือให้ความเห็นต่อกองทัพบกในเรื่องต่างๆ ที่ คณะกรรมการควบคุมการดำเนินงานกิจการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกเสนอ
5.2 คณะกรรมการสวัสดิการกองทัพบก มีอำนาจหน้าที่
5.2.1 กำหนดนโยบายและอำนาจการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก
5.2.2 พิจารณาการลงทุนเพื่อหาผลประโยชน์นอกเหนือจากการให้กู้เงิน โดย รายงานขออนุมัติกองทัพบก
ข้อ 6. คณะกรรมการควบคุมการดำเนินงานกิจการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก ใช้คำย่อว่า “คอทบ.” ประกอบด้วย
รองปลัดบัญชีทหารบก ประธานกรรมการ
เจ้ากรมสวัสดิการทหารบก รองประธานกรรมการ (1)
ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจบัญชีกองทัพบก รองประธานกรรมการ (2)
รองเจ้ากรมสวัสดิการทหารบก (1) รองประธานกรรมการ (3)
รองเจ้ากรมสวัสดิการทหารบก (2) กรรมการ
ผู้อำนวยการกองจัดการ กรมกำลังพลทหารบก กรรมการ
ผู้อำนวยการกองการปกครอง กรมกำลังพลทหารบก กรรมการ
ผู้อำนวยการกองจัดการ สำนักงานปลัดบัญชีกองทัพบก กรรมการ
ผู้อำนวยการกองบัญชี สำนักงานปลัดบัญชีกองทัพบก กรรมการ
ผู้อำนวยการกองวิทยาการ กรมการเงินทหารบก กรรมการ
ผู้อำนวยการกองตรวจพิเศษ สำนักงานตรวจบัญชีกองทัพบก กรรมการ
ผู้อำนวยการกองพระธรรมนูญ กรมสารบรรณทหารบก กรรมการ
ผู้อำนวยการกองการออมทรัพย์ กรมสวัสดิการทหารบก กรรมการและเลขานุการ
รองผู้อำนวยการกองการออมทรัพย์ กรมสวัสดิการทหารบก กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ข้อ 7. คณะกรรมการควบคุมการดำเนินงานกิจการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก มีอำนาจหน้าที่
7.1 ควบคุมกำกับดูแลให้กรมสวัสดิการทหารบก ดำเนินงานกิจการออมทรัพย์ ข้าราชการกองทัพบกให้เป็นไปตามระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก อย่างเคร่งครัด
7.2 ประเมินค่าสมรรถภาพในการบริหารงานของ เจ้าหน้าที่ออมทรัพย์ข้าราชการ กองทัพบกทุกระดับและเสนอแนะคณะกรรมการสวัสดิการกองทัพบก เพื่อโยกย้ายหรือบรรจุผู้ที่มีคุณสมบัติ
เหมาะสมที่จะปฏิบัติงานทั้งข้าราชการประจำและเจ้าหน้าที่อื่น ๆ
7.3 พิจารณาและปรับปรุงให้มีการบริหารงานที่เป็นไปอย่างเหมาะสมตามสภาวะตลาดการเงิน และนโยบายของผู้บังคับบัญชา
7.4 ปรับปรุงระบบงานและเครื่องมือเครื่องใช้ให้มีประสิทธิภาพทันต่อเหตุการณ์ อยู่เสมอ
7.5 การขออนุมัติคณะกรรมการสวัสดิการกองทัพบก เพื่อกำหนดอัตรากำลังพลกำหนดหลักเกณฑ์สิทธิกำลังพลต่างๆ เช่น กำหนดบัญชีอัตราเงินเดือน, เงินเพิ่มค่าครองชีพ และ เงินสวัสดิการอื่น ๆ สำหรับกำลังพลที่มิใช่ข้าราชการประจำการให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้โดยตรงมิต้องผ่านสายงานปกติ
7.6 ประเมินประสิทธิผลการดำเนินงานและผลการปิดบัญชีประจำปี
7.7 พิจารณาและให้ความเห็นชอบในทุกเรื่องของกิจการออมทรัพย์ข้าราชการ กองทัพบกก่อนที่จะเสนอขออนุมัติคณะกรรมการสวัสดิการกองทัพบก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องต่อไปนี้จะต้องพิจารณาในรายละเอียดเป็นพิเศษ
7.7.1 งบประมาณรายรับรายจ่ายประจำปี
7.7.2 การริเริ่มโครงการให้กู้เงิน
7.7.3 การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การรับฝากเงิน การให้กู้เงิน การกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก และการกำหนดหลักการคิดค่าปรับกรณีผู้กู้ผิดสัญญาการชำระเงินประจำงวด
7.7.4 การพิจารณานำเงินไปลงทุนเพื่อหารายได้
7.7.5 การดำเนินการต่อทรัพย์สินที่ใช้ค้ำประกันหนี้จากผู้กู้เงินออมทรัพย์ ข้าราชการกองทัพบกที่ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ ให้ได้ผลประโยชน์แก่กิจการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก
มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้
7.7.6 การคิดค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน การจำหน่ายหนี้สูญ การพิจารณา ความผิดของเจ้าหน้าที่ซึ่งทำให้เกิดหนี้สูญอันเกิดจากการปฏิบัติงานในหน้าที่บกพร่อง
ข้อ 8. หลักเกณฑ์การฝากและการระงับการฝาก การถอน และการคิดดอกเบี้ยเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝาก
8.1 การฝากเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝาก ให้เริ่มฝากเมื่อบรรจุเข้ารับ ราชการ
8.1.1 อัตราการฝากเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝาก ให้ใช้หลักเกณฑ์ รายละเอียดตามผนวก ก.
8.1.2 เงินฝากสมทบให้ฝากเป็นหลักร้อยตลอดปี ให้หน่วยหักฝากเป็นรายเดือน
รวมกับเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝาก โดยไม่ขัดต่อระเบียบนี้
8.1.3 ให้ระงับการฝากเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝาก เมื่อผู้ฝากย้ายออกนอกสังกัดกองทัพบก ออกจากประจำการ ถึงแก่กรรม สาบสูญ ก่อนเกษียณอายุราชการ 1 ปี หรือ ถูกสั่งพักราชการ
8.2 การถอนเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝาก
8.2.1 การถอนเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝาก จะทำได้ในกรณีดังต่อไปนี้
8.2.1.1 ย้ายออกนอกสังกัดกองทัพบก
8.2.1.2 ออกจากประจำการ
8.2.1.3 ถึงแก่กรรม
8.2.1.4 สาบสูญ
8.2.1.5 ก่อนเกษียณอายุราชการ 1 ปี
8.2.1.6 ถูกสั่งพักราชการ กรณีข้าราชการผู้นั้นได้กู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทบำบัดทุกข์ และยังผ่อนชำระไม่ครบ
8.2.2 ในกรณีตามข้อ 8.2.1.1, ข้อ 8.2.1.2 และ ข้อ 8.2.1.5 ให้ผู้ฝากยื่นคำร้องขอถอนเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝากที่หน่วยต้นสังกัดที่รับเงินเดือนครั้งสุดท้าย
8.2.3 ในกรณีตามข้อ 8.2.1.3 และ ข้อ 8.2.1.4 ให้ทายาทผู้มีชื่อรับเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝาก ยื่นคำร้องขอถอนเงินที่หน่วยต้นสังกัดที่รับเงินเดือนครั้งสุดท้าย
8.2.4 ในกรณีตามข้อ 8.2.1.1 ถึง ข้อ 8.2.1.5 หากข้าราชการผู้นั้น มีหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทบำบัดทุกข์, ประเภทพิเศษ หรือประเภทเพื่อการเคหสงเคราะห์ ให้หักเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝาก เพื่อชำระหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกของข้าราชการ ผู้นั้นที่มีอยู่
8.2.5 ในกรณีตามข้อ 8.2.1.6 ให้หน่วยถอนเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝากภายในเวลา 30 วัน นับตั้งแต่มีคำสั่งพักราชการ เพื่อชำระหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทบำบัดทุกข์ของข้าราชการผู้นั้นที่มีอยู่
8.2.6 กรณีผู้ฝากเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝาก มีหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก และถูกระงับการฝากเงินตามกรณีข้อ 8.1.3 เกินกว่า 30 วัน แล้วไม่มีผู้ยื่นคำร้อง ขอถอนเงินให้หน่วยที่ผู้ฝากรับเงินเดือนครั้งสุดท้าย ทำหลักฐานขอถอนเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก
ฝากพร้อมสมุดคู่มือฝากเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก(อ.1) ส่งกรมสวัสดิการทหารบกโดยเร็ว เพื่อชำระหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกของข้าราชการผู้นั้นที่มีอยู่
8.2.7 เมื่อมีการระงับการฝากเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝาก หากไม่มี ผู้ยื่นขอถอนเงินเมื่อพ้นระยะเวลา 60 วัน นับแต่เหตุแห่งการระงับการฝากเงินในแต่ละกรณีแล้ว กรมสวัสดิการทหารบกมีสิทธิถอนเงินดังกล่าว นำมาชำระหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกของ ข้าราชการผู้นั้นที่มีอยู่
8.2.8 ให้หน่วยดำเนินการถอนเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝากทันที ที่ได้รับเรื่องขอถอนเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝากตามข้อ 8.2.1 และเมื่อหน่วยได้รับทราบการโอนจากหนังสือแจ้งการโอนเงินของกรมสวัสดิการทหารบก ให้จ่ายเงินแก่ผู้ขอถอนเงินภายใน 3 วันทำการกรณีหน่วยที่ต้องจ่ายเงินให้กับหน่วยปฏิบัติบัญชีตามระบบบัญชีสำหรับส่วนราชการย่อย โดยการโอนเงินผ่านทางธนาคาร ให้โอนจ่ายเงินผ่านทางธนาคารให้หน่วยปฏิบัติบัญชีตามระบบบัญชีสำหรับส่วนราชการย่อยภายใน 3 วันทำการ และเมื่อหน่วยปฏิบัติบัญชีตามระบบบัญชีสำหรับส่วนราชการย่อยได้รับเงินเข้าบัญชีของหน่วยให้เบิกจ่ายให้แก่ผู้ขอถอนเงินภายใน 3 วันทำการ
8.3 การคิดดอกเบี้ยเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝาก ให้ใช้หลักเกณฑ์ รายละเอียดตามผนวก ก.
8.4 ให้ระงับการคิดดอกเบี้ยเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝาก นับแต่มีการระงับการฝากเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝากมาแล้วเป็นเวลา 1 ปี ยกเว้นกรณีพักราชการ ยังคงคิดดอกเบี้ยเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝากตามปกติ
ข้อ 9. หลักเกณฑ์การกู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทบำบัดทุกข์
9.1 ต้องเป็นข้าราชการกองทัพบกประจำการ และมีเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝากไม่น้อยกว่า 1,000.- บาท
9.2 ผู้กู้จะต้องมีเงินได้รายเดือนสุทธิหลังจากหักเงินงวดชำระหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ ข้าราชการกองทัพบกแล้ว เหลืออยู่ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของเงินได้รายเดือน
9.3 กรณีมีหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทบำบัดทุกข์ และผู้กู้ได้ผ่อนชำระหนี้เงินกู้เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนงวดตามสัญญาแล้ว ประสงค์จะขอกู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการ กองทัพบกประเภทบำบัดทุกข์ให้เสนอเรื่องขอกู้เงินใหม่ได้ โดยไม่ต้องชำระหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทบำบัดทุกข์เดิมให้เสร็จสิ้นก่อนแต่อย่างใด กรมสวัสดิการทหารบกจะหักชำระหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทบำบัดทุกข์เดิมจากเงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทบำบัดทุกข์ที่ขอกู้ใหม่
9.4 ผู้กู้จะต้องไม่มีหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทพิเศษค้างชำระหรือเงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทเพื่อการเคหสงเคราะห์ค้างชำระ
9.5 ให้ผู้กู้เงินยื่นคำขอกู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทบำบัดทุกข์ (อ.4) 2 ฉบับ หนังสือสัญญากู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทบำบัดทุกข์(อ.5) 5 ฉบับ ผ่านผู้บังคับหน่วยและผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องที่กำหนดไว้ในคำขอกู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทบำบัดทุกข์ (อ.4)
9.6 กรณีผู้กู้มีคู่สมรส ให้คู่สมรสลงนามเป็นพยานในหนังสือสัญญากู้เงินออมทรัพย์
ข้าราชการกองทัพบกประเภทบำบัดทุกข์ (อ.5) ทั้ง 5 ฉบับ โดยใช้คำว่า “คู่สมรส” หน้าคำว่าพยานฉบับละ 1 ชื่อ
9.7 การลงนามในสัญญากู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทบำบัดทุกข์(อ.5)
9.7.1 ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นผู้บังคับกองร้อยหรือเทียบเท่าขึ้นไป ลงนามรับรองลายมือชื่อผู้ขอกู้เงิน
9.7.2 ให้ผู้บังคับหน่วย รอง ผู้ช่วยหรือเสนาธิการ เป็นผู้ลงนามในหนังสือสัญญากู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทบำบัดทุกข์(อ.5) ในฐานะผู้ให้กู้เงินแทนกองทัพบก สำหรับหน่วยสัสดี สัสดีจังหวัดเป็นผู้ลงนามแทน
9.8 วงเงินกู้ ให้ใช้หลักเกณฑ์รายละเอียดตามผนวก ข.
9.9 กำหนดการผ่อนชำระหนี้คืนนับเป็นงวดเดือนติดต่อกัน 30 เดือน กรณีกู้เงิน ตั้งแต่ 100,000.- บาทขึ้นไป ผ่อนชำระหนี้คืนนับเป็นงวดเดือนติดต่อกัน 30 เดือน หรือ 48 เดือน เป็นการผ่อนชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย งวดชำระจะเลื่อนงวดให้เกินไปจากหนังสือสัญญากู้เงินออมทรัพย์ ข้าราชการกองทัพบกประเภทบำบัดทุกข์(อ.5) ไม่ได้ อัตราดอกเบี้ยให้ใช้หลักเกณฑ์รายละเอียดตามผนวก ข.
9.10 การชำระหนี้ก่อนครบกำหนดสัญญา
9.10.1 กรณีที่ผู้กู้เงิน อทบ.บำบัดทุกข์ มีความประสงค์ชำระหนี้เงินกู้ก่อนครบกำหนดสัญญา เมื่อผ่อนชำระหนี้เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนงวดตามสัญญาแล้ว ให้ชำระเงินต้นคงเหลือพร้อม ดอกเบี้ยค้างชำระตามระยะเวลา
9.10.2 กรณีที่ผู้กู้เงิน อทบ.บำบัดทุกข์ มีความประสงค์ชำระหนี้เงินกู้ก่อน ครบกำหนดสัญญา แต่ผ่อนชำระหนี้ยังไม่เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนงวดตามสัญญา ให้ชำระเงินต้นคงเหลือพร้อมค่าธรรมเนียม ร้อยละ 2 ของจำนวนเงินต้นคงเหลือ
9.10.3 กรณีที่ผู้กู้เงิน อทบ.บำบัดทุกข์ ย้ายออกนอกสังกัดกองทัพบก ออกจากประจำการ ถึงแก่กรรม สาบสูญ ก่อนเกษียณอายุราชการ 1 ปี หรือถูกสั่งพักราชการ ให้ชำระเงินต้นคงเหลือพร้อมดอกเบี้ยค้างชำระตามระยะเวลา
9.11 เมื่อหน่วยได้รับทราบการโอนจากหนังสือแจ้งการโอนเงินของกรมสวัสดิการทหารบก ให้จ่ายเงินแก่ผู้กู้เงินภายใน 3 วันทำการ กรณีหน่วยที่ต้องจ่ายเงินให้กับหน่วยปฏิบัติบัญชีตามระบบบัญชีสำหรับส่วนราชการย่อย โดยการโอนเงินผ่านทางธนาคาร ให้โอนจ่ายเงินผ่านทางธนาคาร ให้หน่วยปฏิบัติบัญชีตามระบบบัญชีสำหรับส่วนราชการย่อยภายใน 3 วันทำการ และเมื่อหน่วยปฏิบัติบัญชีตามระบบบัญชีสำหรับส่วนราชการย่อยได้รับเงินเข้าบัญชีของหน่วย ให้เบิกจ่ายให้แก่ผู้ขอถอนเงินภายใน 3 วันทำการ
9.12 การหักเงินชำระหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกจะเริ่มหักเงินของผู้กู้ตามสัญญาเงินกู้ ที่กรมสวัสดิการทหารบก กำหนดไว้
9.13 ผู้กู้ไม่ชำระหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกตามสัญญา ต้องชำระควบในงวดชำระถัดไป พร้อมดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่ค้างชำระ
ข้อ 10. หลักเกณฑ์การกู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทพิเศษ
10.1 เป็นข้าราชการกองทัพบกประจำการ และมีอายุไม่เกิน 55 ปี
10.2 ผู้กู้จะต้องมีเงินได้รายเดือนสุทธิหลังจากหักเงินงวดชำระหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ ข้าราชการกองทัพบกแล้ว เหลืออยู่ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของเงินได้รายเดือน
10.3 ต้องนำที่ดินเป็นหลักประกันเงินกู้
10.4 กรณีมีหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทพิเศษ ต้องชำระหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกให้เสร็จสิ้นก่อนการเสนอเรื่องขอกู้เงินใหม่ และผู้กู้ต้องไม่มีหนี้เงินกู้ ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทเพื่อการเคหสงเคราะห์
10.5 ระยะเวลาผ่อนชำระหนี้เงินกู้ 10 ปี
10.6 วงเงินกู้และอัตราดอกเบี้ย ให้ใช้หลักเกณฑ์รายละเอียดตามผนวก ข.
10.7 กรณีกู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทพิเศษ ผู้กู้สามารถทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองการกู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทพิเศษได้ โดยจำนวนเงินเอาประกันภัยจะมีมูลค่าไม่น้อยกว่าหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทพิเศษและคุ้มครองตลอดระยะเวลาสัญญาจำนอง
10.7.1 กรมธรรม์ประกันชีวิตต้องระบุให้กองทัพบก(กรมสวัสดิการทหารบก) เป็นผู้รับประโยชน์ลำดับแรก และผู้เอาประกันต้องมอบกรมธรรม์ประกันชีวิตให้กับกองทัพบก (กรมสวัสดิการทหารบก) ตลอดระยะเวลาที่ทำประกันชีวิต
10.7.2 เงินเบี้ยประกันที่ผู้กู้ต้องจ่าย กองทัพบก(กรมสวัสดิการทหารบก) จะอนุมัติยอดวงเงินเพิ่มเติมจากวงเงินที่อนุมัติให้กู้ ตามหลักเกณฑ์ ผนวก ข.
10.8 กรณีชำระหนี้ก่อนกำหนด จำนวนเงินไถ่จำนองให้ชำระเงินต้นคงเหลือพร้อมดอกเบี้ยค้างชำระตามระยะเวลา
10.9 การประเมินราคาที่ดินที่จะนำมาเป็นหลักประกันเงินกู้ ให้พิจารณาราคาประเมินจากกรมที่ดินหรือสำนักงานที่ดินที่กำหนดราคาปานกลางไว้เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียม การจดทะเบียน หรือราคาประเมินที่คณะกรรมการตรวจสภาพที่ดินของกรมสวัสดิการทหารบก พิจารณากำหนดราคาที่เหมาะสมตามสภาพในปัจจุบัน แต่ไม่เกินวงเงินกู้ตามหลักเกณฑ์รายละเอียดตามผนวก ข.
10.10 การลงนามในคำขอกู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทพิเศษ(อ.4) และหนังสือสัญญากู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทพิเศษ (อ.5)
10.10.1 ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นผู้บังคับกองร้อยหรือเทียบเท่าขึ้นไปลงนามรับรองลายมือชื่อผู้ขอกู้เงินในคำขอกู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทพิเศษ (อ.4)
10.10.2 ผู้กู้เงินต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากกรมสวัสดิการทหารบก ให้เป็นผู้รับจำนองและผู้รับมอบอำนาจต้องเป็นผู้รับรองลายมือชื่อผู้กู้เงินในหนังสือสัญญากู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทพิเศษ (อ.5)
10.11 เจ้ากรมสวัสดิการทหารบก หรือ รองเจ้ากรมสวัสดิการทหารบก เป็นผู้ลงนามในหนังสือสัญญากู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทพิเศษ (อ.5) ในฐานะผู้ให้กู้เงินแทนกองทัพบก
10.12 การจ่ายเงินกู้จะจ่ายให้เมื่อได้จดทะเบียนจำนอง และกรมสวัสดิการทหารบกตรวจสอบหลักฐานถูกต้องเรียบร้อยแล้ว และให้ผู้กู้มารับเงินที่กรมสวัสดิการทหารบกเท่านั้น
10.13 กำหนดการผ่อนชำระหนี้เงินกู้ระบุเป็นงวดเดือนติดต่อกันมีกำหนด 120 เดือน ตามหนังสือสัญญากู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทพิเศษ (อ.5)
10.14 การหักชำระหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก หักเงินชำระหนี้ตามงวดเดือนที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญากู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทพิเศษ (อ.5) จะเลื่อนงวดชำระให้เกินไปจากหนังสือสัญญากู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทพิเศษ (อ.5) ไม่ได้
10.15 กรมสวัสดิการทหารบกจะแจ้งกำหนดการหักเงินไปถึงหน่วยก่อนกำหนดชำระงวดแรกที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญากู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทพิเศษ (อ.5)
10.16 หากหน่วยหักเงินส่งชำระหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกไม่ทันอันเป็นผลจากความจำเป็นทางธุรการ ให้ผู้กู้นำเงินส่งต่อกรมสวัสดิการทหารบก
10.17 ผู้กู้ไม่ชำระหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกตามสัญญาต้องชำระควบในงวดชำระถัดไป พร้อมดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่ค้างชำระ
10.18 กรณีที่ผู้กู้มีความประสงค์จะลาออกจากราชการจะต้องชำระหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกทั้งจำนวนให้เสร็จสิ้นก่อน หากจะต้องออกจากราชการโดยเกษียณอายุให้นำเงิน ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝากชำระหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกที่มีอยู่ทั้งจำนวน หากชำระได้ไม่ครบทั้งจำนวนผู้กู้ต้องมาทำสัญญารับสภาพหนี้ตามที่กรมสวัสดิการทหารบกกำหนด
10.19 หลักฐานประกอบการขอกู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทพิเศษ
10.19.1 หนังสือนำจากหน่วย
10.19.2 คำขอกู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทพิเศษ(อ.4) 1 ฉบับ
10.19.3 หนังสือสัญญากู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทพิเศษ(อ.5) 3 ฉบับ (ไม่ต้องลงข้อความใดๆ ทั้งสิ้น)
10.19.4 สำเนาโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) พร้อมสารบัญจดทะเบียน 1 ชุด
10.19.5 สำเนาทะเบียนบ้านผู้กู้
10.19.6 แผนที่สังเขปแสดงบริเวณที่ตั้งที่ดิน แสดงรายละเอียดเส้นทางคมนาคมและสถานที่สำคัญใกล้เคียง
10.19.7 สำเนาบัตรประจำตัวของผู้กู้
10.19.8 หนังสือยินยอมคู่สมรส หรือหนังสือรับรองความเป็นโสด
10.19.9 สำเนาทะเบียนสมรส (กรณีผู้กู้มีคู่สมรส)
10.19.10 กรณีนำที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นมีสิทธิครอบครองมาเป็นหลักประกันเงินกู้ต้องเพิ่มหลักฐานดังนี้
10.19.10.1 หนังสือยินยอมของผู้มีกรรมสิทธิ์ หรือผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดิน
10.19.10.2 สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีกรรมสิทธิ์ หรือผู้มีสิทธิ ครอบครองในที่ดิน
10.19.10.3 สำเนาบัตรประจำตัวของผู้มีกรรมสิทธิ์ หรือผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดิน
10.19.11 กรณีกู้เงินไปเพื่อไถ่จำนองให้แนบสัญญาจำนองประกอบเรื่อง 1 ชุด
10.19.12 กรณีซื้อที่ดิน และนำที่ดินแปลงนั้นเป็นหลักประกันเงินกู้ให้แนบสัญญาจะซื้อจะขายประกอบเรื่อง 1 ชุด
10.19.13 หลักฐานอื่นๆ ที่กรมสวัสดิการทหารบกพิจารณาแล้วเห็นว่าต้องนำมาประกอบ เพื่อความสมบูรณ์ในการขอกู้เงิน
ข้อ 11. หลักเกณฑ์การกู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทเพื่อการเคหสงเคราะห์
11.1 เป็นข้าราชการกองทัพบกประจำการมีเวลารับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีหรือมีเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝากไม่น้อยกว่า 5,000.- บาท และมีอายุไม่เกิน 55 ปี
11.2 ต้องนำที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุดมาเป็นหลักประกันเงินกู้ กรณีคู่สมรสเป็นข้าราชการกองทัพบกสามารถใช้สิทธิกู้ร่วมกัน โดยจะพิจารณาวงเงินกู้ตามราคาหลักทรัพย์แต่ไม่เกิน วงเงินกู้ตามชั้นยศของผู้กู้
11.3 ผู้กู้จะต้องมีเงินได้รายเดือนสุทธิหลังจากหักเงินงวดชำระหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ ข้าราชการกองทัพบกแล้ว เหลืออยู่ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของเงินได้รายเดือน
11.4 กรณีมีหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก ประเภทเพื่อการเคหสงเคราะห์ต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นก่อนเสนอเรื่องขอกู้เงินใหม่ ยกเว้นกรณีผู้กู้มีหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการ กองทัพบกประเภทพิเศษ ประสงค์จะขอกู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทเพื่อการเคหสงเคราะห์ ให้เสนอเรื่องขอกู้เงินใหม่ได้ โดยไม่ต้องชำระหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทพิเศษเดิม ให้เสร็จสิ้นก่อนแต่อย่างใด กรมสวัสดิการทหารบกจะหักชำระหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทพิเศษเดิม จากเงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทเพื่อการเคหสงเคราะห์ที่ขอกู้ใหม่
11.5 การประเมินราคาหลักทรัพย์ จะประเมินราคาที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง โดยการประเมินราคาที่ดินจะใช้หลักเกณฑ์เช่นเดียวกับการกู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทพิเศษ สำหรับการประเมินราคาสิ่งปลูกสร้างจะใช้หลักเกณฑ์ของสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย หรือพิจารณาจากราคาของบริษัทประเมินค่าหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายประกอบ การพิจารณาวงเงินที่อนุมัติให้กู้
11.6 วงเงินกู้และอัตราดอกเบี้ย ให้ใช้หลักเกณฑ์รายละเอียดตามผนวก ข.
11.7 กรณีชำระหนี้ก่อนกำหนด จำนวนเงินไถ่จำนองให้ชำระเงินต้นคงเหลือพร้อมดอกเบี้ยค้างชำระตามระยะเวลา
11.8 การผ่อนชำระหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทเพื่อการเคหสงเคราะห์ มีระยะเวลาผ่อนชำระ 10 ปี, 15 ปี, 20 ปี และ 25 ปี เลือกผ่อนได้ตามเกณฑ์อายุดังนี้
11.8.1 การผ่อนชำระหนี้เงินกู้ 25 ปี ผู้กู้ต้องมีอายุไม่เกิน 40 ปี
11.8.2 การผ่อนชำระหนี้เงินกู้ 20 ปี ผู้กู้ต้องมีอายุไม่เกิน 45 ปี
11.8.3 การผ่อนชำระหนี้เงินกู้ 15 ปี ผู้กู้ต้องมีอายุไม่เกิน 50 ปี
11.8.4 การผ่อนชำระหนี้เงินกู้ 10 ปี ผู้กู้ต้องมีอายุไม่เกิน 55 ปี
11.9 กรณีกู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทเพื่อการเคหสงเคราะห์ ผู้กู้ต้องทำประกันภัยไว้ตลอดระยะเวลาตามสัญญาจำนอง โดยจำนวนเงินเอาประกันภัย ต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 70 ของราคาอาคารหรือห้องชุดที่นำมาจดทะเบียนจำนองไว้
11.9.1 กรมธรรม์ประกันภัยต้องระบุให้กองทัพบก(กรมสวัสดิการทหารบก) เป็นผู้รับประโยชน์และผู้เอาประกันภัยต้องมอบกรมธรรม์ประกันภัยไว้กับกองทัพบก(กรมสวัสดิการ ทหารบก) ตลอดระยะเวลาที่กำหนดให้ทำประกันภัย
11.9.2 เบี้ยประกันภัยปีแรกจะหักไว้จากเงินอนุมัติที่จ่ายเงินกู้ให้ผู้กู้เงินใน งวดแรก เบี้ยประกันภัยปีต่อไปจะเฉลี่ยหักรวมกับเงินงวดชำระ โดยเริ่มหักตั้งแต่งวดชำระเงินในเดือนแรก ตามหนังสือสัญญากู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทเพื่อการเคหสงเคราะห์(อ.5) ติดต่อกัน ตลอดระยะเวลาทำประกันภัย
11.10 กรณีกู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทเพื่อการเคหสงเคราะห์ ผู้กู้สามารถทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองการกู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทเคหสงเคราะห์ได้ โดยจำนวนเงินเอาประกันภัยจะมีมูลค่าไม่น้อยกว่าหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภท เคหสงเคราะห์และคุ้มครองตลอดระยะเวลาสัญญาจำนอง
11.10.1 กรมธรรม์ประกันชีวิตต้องระบุให้กองทัพบก(กรมสวัสดิการ ทหารบก) เป็นผู้รับประโยชน์ลำดับแรกและผู้เอาประกันต้องมอบกรมธรรม์ประกันชีวิตให้กับกองทัพบก (กรมสวัสดิการทหารบก) ตลอดระยะเวลาที่ทำประกันชีวิต
11.10.2 เงินเบี้ยประกันที่ผู้กู้ต้องจ่ายกองทัพบก(กรมสวัสดิการทหารบก) จะอนุมัติยอดวงเงินเพิ่มเติม จากวงเงินที่อนุมัติให้กู้ ตามหลักเกณฑ์ ผนวก ข.
11.11 การจ่ายเงินกู้
11.11.1 กรณีปลูกสร้างอาคารจะจ่ายเงินเป็น 3 งวด ตามงวดงานในอัตราส่วน 2:1:1 ของยอดเงินที่อนุมัติให้กู้ และเมื่อได้จดทะเบียนจำนองแล้ว โดยจะจ่ายในแต่ละงวดตามงานการก่อสร้างดังนี้
11.11.1.1 งวดที่ 1 จ่ายเมื่องานก่อสร้างเทคานคอดิน และตั้งเสา แล้วเสร็จ
11.11.1.2 งวดที่ 2 จ่ายเมื่องานก่อสร้างตั้งวงกบประตูหน้าต่าง งานพื้น งานผนัง และงานหลังคาแล้วเสร็จ
11.11.1.3 งวดที่ 3 จ่ายเมื่องานก่อสร้างตามแบบระบบประปา ไฟฟ้า แล้วเสร็จสมบูรณ์พร้อมเข้าอยู่อาศัย รวมทั้งมีหลักฐานทะเบียนบ้านเรียบร้อย
11.11.2 กรณีซื้อที่ดินพร้อมอาคารหรือห้องชุด จะจ่ายให้ต่อเมื่อได้จดทะเบียนจำนองเรียบร้อยแล้ว
11.12 การรับเงินกู้
11.12.1 การรับเงินกู้ตามข้อ 11.11.1 ให้รับได้ที่กรมสวัสดิการทหารบก
11.12.2 การรับเงินกู้ตามข้อ 11.11.2 เมื่อได้ดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์การซื้อขาย และกรมสวัสดิการทหารบกได้รับจดทะเบียนจำนองแล้ว ให้นำเงินไปจ่ายให้กับเจ้าของกรรมสิทธิ์ผู้ขาย ณ สำนักงานที่ดิน แต่ในกรณีมีผู้ซื้อหลายรายจากผู้ขายคนเดียวกัน เมื่อกรมสวัสดิการ ทหารบกได้รับจดทะเบียนจำนองแล้ว ให้อยู่ในดุลยพินิจของกรมสวัสดิการทหารบกที่จะพิจารณาจ่ายเงินให้ผู้ขาย ณ กรมสวัสดิการทหารบกก็ได้
11.13 การหักเงินชำระหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก หักเงินชำระติดต่อกันตามงวดเดือนที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญากู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทเพื่อการเคหสงเคราะห์(อ.5) จะเลื่อนงวดชำระให้เกินไปจากหนังสือสัญญากู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทเพื่อการเคหสงเคราะห์ (อ.5) ไม่ได้ การหักเงินชำระหนี้จะหักควบกับเงินเบี้ยประกันภัย
11.14 กรมสวัสดิการทหารบกจะส่งเอกสารแจ้งกำหนดการหักเงินไปถึงหน่วยก่อนเดือนงวดชำระงวดเดือนแรกที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญากู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภท เพื่อการเคหสงเคราะห์ (อ.5)
11.15 หากหน่วยหักเงินส่งชำระหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก ไม่ทัน อันเป็นผลจากความจำเป็นทางธุรการ ให้ผู้กู้นำส่งโดยตรงต่อกรมสวัสดิการทหารบก
11.16 ผู้กู้ไม่ชำระหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกตามสัญญา ต้องชำระควบในงวดชำระถัดไป พร้อมดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่ค้างชำระ 11.17 กรณีผู้กู้มีความประสงค์จะลาออกจากราชการ จะต้องชำระหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกทั้งจำนวนให้เสร็จสิ้นก่อน หากจะต้องออกจากราชการโดยเกษียณอายุราชการให้นำ เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝากชำระหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกที่มีอยู่ทั้งจำนวน หากชำระได้ไม่ครบทั้งจำนวนผู้กู้ต้องมาทำสัญญารับสภาพหนี้ตามที่กรมสวัสดิการทหารบกกำหนด
11.18 หลักเกณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่ได้ระบุไว้ให้อนุโลมใช้ตามหลักเกณฑ์การ กู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทพิเศษ
11.19 หลักฐานประกอบการขอกู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภท
เพื่อการเคหสงเคราะห์
11.19.1 หนังสือนำจากหน่วย
11.19.2 คำขอกู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทเพื่อการเคหสงเคราะห์ (อ.4) 1 ฉบับ
11.19.3 หนังสือสัญญากู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทเพื่อการเคหสงเคราะห์ (อ.5) 3 ฉบับ (ไม่ต้องลงข้อความใด ๆ ทั้งสิ้น)
11.19.4 สำเนาโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก.) พร้อมสารบัญจดทะเบียน 1 ชุด
11.19.5 กรณีปลูกสร้างอาคาร ต้องแนบแบบการก่อสร้างอาคารประกอบเรื่อง 1 ชุด โดยมีวิศวกรและสถาปนิกของฝ่ายปกครองท้องที่(ในเขตเทศบาล) รับรองแบบ หากอยู่นอกเขตเทศบาลผู้รับรองแบบต้องมีใบรับรองการประกอบอาชีพของสมาคมวิศวกรรมแห่งประเทศไทย
11.19.6 กรณีปลูกสร้างอาคารในที่ดินซึ่งคู่สมรสมีกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครอง ต้องมีหนังสือยินยอมของคู่สมรสให้นำที่ดินมาจำนองประกอบเรื่อง
11.19.7 สำเนาทะเบียนบ้านผู้กู้
11.19.8 แผนที่สังเขปแสดงบริเวณที่ตั้งที่ดินแสดงรายละเอียดเส้นทางคมนาคม และสถานที่สำคัญใกล้เคียง
11.19.9 หนังสือยินยอมของคู่สมรส หรือหนังสือรับรองความเป็นโสด 11.19.10 สำเนาทะเบียนสมรส (กรณีผู้กู้มีคู่สมรส)
11.19.11 สำเนาบัตรประจำตัวของผู้กู้
11.19.12 กรณีซื้อที่ดินพร้อมอาคารหรือห้องชุด และนำที่ดินพร้อมอาคารหรือห้องชุดเป็นหลักประกันเงินกู้ ให้แนบสัญญาจะซื้อจะขายประกอบเรื่อง
11.19.13 กรณีกู้เงินไปเพื่อไถ่จำนอง ให้แนบสัญญาจำนองประกอบเรื่อง 1 ชุด
11.19.14 หนังสือยินยอมการเอาประกันภัย
11.19.15 กรณีการก่อสร้างอาคารที่ต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยราชการท้องที่ ต้องมีหนังสืออนุญาตให้ก่อสร้างแนบประกอบเรื่อง
11.19.16 หลักฐานอื่น ๆ ที่กรมสวัสดิการทหารบกพิจารณาแล้วเห็นว่า ควรมีเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในการกู้เงินเฉพาะราย
ข้อ 12. การค้างชำระหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกของผู้กู้ อันเนื่องมาจาก ความบกพร่องในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่นั้นๆ จะต้องรับผิดชอบในส่วนของ ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น
ข้อ 13. หลักเกณฑ์การไถ่ถอนจำนอง
13.1 ต้องชำระหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทพิเศษ หรือประเภทเพื่อการเคหสงเคราะห์ ครบตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญากู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก (อ.5) นั้น 13.2 การไถ่ถอนจำนอง
13.2.1 ผู้มีสิทธิไถ่ถอนจำนอง
13.2.1.1 ผู้จำนอง
13.2.1.2 ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก
13.2.1.3 ผู้จัดการมรดก
13.2.1.4 ผู้รับมอบอำนาจ
13.2.2 หลักฐานการไถ่ถอนจำนอง
13.2.2.1 การไถ่ถอนจำนองโดยผู้จำนอง
13.2.2.1.1 สำเนาบัตรประจำตัวและสำเนาทะเบียนบ้าน
13.2.2.1.2 หนังสือสัญญากู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก (อ.5) ตามประเภทการกู้เงินและสัญญาจำนองที่ดิน (ทด.15) ถ้ามี
13.2.2.2 การไถ่ถอนจำนองโดยทายาทของผู้จำนอง
13.2.2.2.1 สำเนาใบมรณะบัตร
13.2.2.2.2 สำเนาบัตรประจำตัวและสำเนาทะเบียนบ้านของ
ทายาทที่ขอไถ่ถอนจำนอง
13.2.2.2.3 สำเนาหนังสือรับรองการเป็นทายาท (ปค.14)

13.2.2.2.4 กรณีมีทายาทหลายคน ให้ทายาททุกคนที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ทำหนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัว และสำเนาทะเบียนบ้านแนบเรื่องให้ความ ยินยอมแก่ทายาทที่เป็นตัวแทนขอไถ่ถอนจำนอง
13.2.2.3 การไถ่ถอนจำนองโดยผู้จัดการมรดก
13.2.2.3.1 สำเนาคำสั่งศาลให้เป็นผู้จัดการมรดก
13.2.2.3.2 สำเนาบัตรประจำตัวและสำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้จัดการมรดก
13.2.2.4 การไถ่ถอนจำนองโดยผู้รับมอบอำนาจ
13.2.2.4.1 ให้ใช้แบบพิมพ์หนังสือมอบอำนาจของกรมที่ดิน
13.2.2.4.2 กรณีผู้มอบอำนาจเป็นข้าราชการกองทัพบกประจำการจะต้องมีหนังสือหรือวิทยุจากหน่วยต้นสังกัดของผู้กู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกระบุข้อความให้แจ้งชัดถึงชื่อผู้มอบอำนาจและชื่อผู้รับมอบอำนาจให้เป็นตัวแทน
13.2.2.4.3 บัตรประจำตัวและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจให้เป็นตัวแทน
13.2.3 การไถ่ถอนจำนองโดยผู้กู้เงินที่เป็นข้าราชการกองทัพบกประจำการ การไถ่ถอนจำนองจะต้องมีหนังสือ หรือวิทยุจากหน่วยต้นสังกัดของผู้กู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกระบุข้อความให้แจ้งชัดแนบเรื่องด้วยทุกครั้ง

การดำเนินการ

ข้อ 14. ให้กรมสวัสดิการทหารบก มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
14.1 ดำเนินการให้เป็นไปตามความมุ่งหมายแห่งระเบียบนี้ตามมติคณะกรรมการควบคุมการดำเนินงานกิจการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก และคณะกรรมการสวัสดิการกองทัพบก
14.2 ควบคุมและอำนวยการในเรื่องการฝาก การถอน และการจ่ายเงินทุกประเภทในกิจการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก กับการนำส่งเงินของหน่วย และบุคคลให้เป็นการถูกต้องตามแบบธรรมเนียมของทางราชการ
14.3 พิจารณาอนุมัติการกู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทบำบัดทุกข์ประเภทพิเศษ และประเภทเพื่อการเคหสงเคราะห์
14.4 พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินรายได้ของการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก
14.5 พิจารณาจัดทำ และเสนองบประมาณรายจ่ายจากเงินได้ของการออมทรัพย์ ข้าราชการของกองทัพบก ต่อคณะกรรมการควบคุมการดำเนินงานกิจการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกและคณะกรรมการสวัสดิการกองทัพบกตามลำดับภายในเดือนกันยายนของทุกปี
14.6 การดำเนินการการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกระหว่างหน่วยให้ กรมสวัสดิการทหารบกมีอำนาจในการตรวจตรา และควบคุมกิจการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกให้เป็นไปตามระเบียบนี้ กับตามมติคณะกรรมการควบคุมการดำเนินงานกิจการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก และคณะกรรมการสวัสดิการกองทัพบกตามลำดับ ตลอดจนให้ความเห็นแนะนำการปฏิบัติอันถูกต้องตาม งบประมาณเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประจำปีที่ได้รับอนุมัติแล้ว
14.7 พิจารณาจ้างลูกจ้างชั่วคราวเพื่อปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกของหน่วย ตามที่หน่วยเสนอขออนุมัติจ้างเพื่อดำเนินการต่อไป
14.8 พิจารณาอนุมัติจำหน่ายสิ่งอุปกรณ์ที่จัดหามาตามข้อ 14.4 ซึ่งชำรุดหมดสภาพการใช้งาน โดยปฏิบัติตามระเบียบกองทัพบกว่าด้วยการจำหน่ายสิ่งอุปกรณ์
ข้อ 15. ให้ผู้บังคับหน่วยมีหน้าที่เกี่ยวกับการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกดังต่อไปนี้
15.1 แต่งตั้งนายทหารสัญญาบัตรและข้าราชการในหน่วย เป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการ การออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกของหน่วยขึ้นรับผิดชอบกิจการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก
15.2 กำกับดูแลและรับผิดชอบงานการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกของหน่วยให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และควบคุมการส่งเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝากเงินฝากสมทบ และเงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกทุกประเภท พร้อมเอกสารการโอนเงินและข้อมูลรายละเอียดประกอบการส่งเงินให้ กรมสวัสดิการทหารบก ภายในวันสิ้นเดือนของเดือนที่ทำการตัดจ่ายเงินเดือน
15.3 เสนอขออนุมัติจ้างลูกจ้างชั่วคราวเพื่อปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการออมทรัพย์ ข้าราชการกองทัพบกของหน่วย ที่ใช้เงินงบประมาณรายจ่ายจากเงินได้ของการออมทรัพย์ข้าราชการ กองทัพบกให้กรมสวัสดิการทหารบกพิจารณา
ข้อ 16. เจ้าหน้าที่ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกของหน่วย มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
16.1 ควบคุมและปฏิบัติงานการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกของหน่วย ให้เป็นไปตามระเบียบ คำสั่ง คำชี้แจงของกองทัพบกที่เกี่ยวกับกิจการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก ตลอดจนประกาศและคำแนะนำของกรมสวัสดิการทหารบก
16.2 เป็นที่ปรึกษาและเสนอความคิดเห็นแก่ผู้บังคับบัญชา เป็นผู้ให้คำแนะนำแก่ข้าราชการภายในหน่วยเกี่ยวกับการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกตามระเบียบนี้
16.3 ประสานงานกับกรมสวัสดิการทหารบกอย่างใกล้ชิด เพื่อก่อให้เกิดความ เข้าใจระหว่างหน่วย
16.4 ในเดือนมิถุนายนของทุกปี ให้เจ้าหน้าที่ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก ของหน่วย จัดทำบัญชีสรุปยอดเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝาก และเงินฝากสมทบของข้าราชการในหน่วยเสนอผู้บังคับหน่วยสั่งการหักเงินฝากตามนัยแห่งหลักเกณฑ์ให้ทันหักเงินฝากในวันจ่ายเงินประจำเดือนตุลาคมเป็นการเริ่มฝากเงินในต้นปีงบประมาณ
16.5 จัดทำสมุดคู่มือฝากเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก(อ.1) ประจำตัว ข้าราชการภายในหน่วยทุกคน ข้าราชการที่บรรจุใหม่ ให้ทำใบเบิก(ทบ.400-006) พร้อมสำเนาคำสั่งบรรจุ ข้าราชการสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการที่มีหมายเลขประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้าน และ
หนังสือนำของหน่วยเสนอกรมสวัสดิการทหารบก เพื่อขอเบิกสมุดคู่มือฝากเงินออมทรัพย์ข้าราชการ กองทัพบก (อ.1)
16.6 กรณีสมุดคู่มือฝากเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก(อ.1) บันทึกรายการเต็มชำรุด หรือสูญหายให้หน่วยผู้เบิกทำหนังสือนำหน่วยพร้อมทั้งใบเบิก (ทบ.400 - 006) โดยระบุหมายเลข สมุดคู่มือฝากเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก(อ.1) ยศ ชื่อ นามสกุล และส่งสมุดคู่มือฝากเงินออมทรัพย์ ข้าราชการกองทัพบก(อ.1) เล่มเก่าให้ กรมสวัสดิการทหารบก ยกเว้นกรณีสมุดคู่มือฝากเงินออมทรัพย์ ข้าราชการกองทัพบก (อ.1) สูญหาย
16.7 ลงนามรับรองสมุดคู่มือฝากเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก (อ.1) ของ ข้าราชการภายในหน่วยทุกฉบับ ตามที่ได้หักเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝากไว้ทุกเดือน
16.8 หน่วยที่เป็นศูนย์ข้อมูลย่อยการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก ให้เจ้าหน้าที่ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกทำการบันทึกปรับปรุงข้อมูลและจัดทำเอกสาร ดังนี้
16.8.1 ในเดือนกรกฎาคมของทุกปีงบประมาณ ให้หน่วยศูนย์ข้อมูลย่อย การออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก จัดทำบัญชีรายละเอียดเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝากประจำเดือนตุลาคม โดยใช้ข้อมูลเดือนมิถุนายนเป็นฐานข้อมูลในการตรวจสอบและแก้ไขรายการ เปลี่ยนแปลงเงินฝากประจำตามชั้นยศและเงินฝากสมทบใหม่ของข้าราชการให้ถูกต้อง เพื่อใช้เป็นข้อมูลการฝากเงินในปีงบประมาณใหม่ นำข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขแล้วมาทำการปรับปรุงโดยใช้โปรแกรมระบบงาน การออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก ส่วนข้าราชการที่โอนย้ายเข้า-ออกในเดือนตุลาคมให้ทำการตรวจสอบและบันทึกข้อมูลเข้าในระบบให้เรียบร้อย และส่งให้กรมสวัสดิการทหารบกภายในวันสิ้นเดือน
16.8.2 ในเดือนตุลาคมของทุกปีงบประมาณ เจ้าหน้าที่ออมทรัพย์ข้าราชการ
กองทัพบกของหน่วยปฏิบัติบัญชีตามระบบบัญชี สำหรับส่วนราชการจะต้องจัดพิมพ์บัญชีรายละเอียด การฝากเงินและการกู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกทุกประเภทจำนวน 3 ชุด ส่งให้สำนักงานการเงิน
ของหน่วย 1 ชุด หน่วยขึ้นตรงหรือหน่วยรับการสนับสนุน 1 ชุด เก็บไว้ที่ฝ่ายสวัสดิการของหน่วย 1 ชุด และทำการสำรองข้อมูลบัญชีรายละเอียดการฝากเงิน และการกู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก ทุกประเภทลงแผ่นบันทึกข้อมูล เพื่อเป็นหลักฐานของหน่วย และเป็นฐานข้อมูลเดือนต่อไป ส่วนบัญชี รายละเอียดที่ส่งให้กรมสวัสดิการทหารบกนั้น ให้ส่งผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ภายในวันสิ้นเดือน
16.8.3 ในการจัดทำบัญชีรายละเอียดประจำเดือนตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกันยายนของทุกปี ให้หน่วยจัดทำเป็นบัญชีรายละเอียดเพิ่ม-ลด เพื่อเป็นหลักฐานของหน่วย และใช้ในการบันทึกปรับปรุงข้อมูลในโปรแกรมระบบงานกิจการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก เพื่อส่งให้ กรมสวัสดิการทหารบกทางสื่อคอมพิวเตอร์ภายในวันสิ้นเดือน
16.8.4 การตรวจสอบความถูกต้องเงินฝากของข้าราชการระหว่างหน่วยกับกรมสวัสดิการทหารบก ทำการตรวจสอบปีละ 2 ครั้ง
16.8.4.1 เมื่อสิ้นปีงบประมาณ กรมสวัสดิการทหารบกจัดส่งบัญชีสรุปสถานภาพเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝากรายบุคคลโดยแยกประเภทสัญญาบัตร และต่ำกว่าสัญญาบัตร ส่งให้หน่วยศูนย์ข้อมูลย่อยการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก ทำการตรวจสอบความถูกต้องกับสมุดคู่มือฝากเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก(อ.1) กรณียอดเงินดังกล่าวถูกต้องตรงกันให้นำ ดอกเบี้ยและยอดยกไปของบัญชีสรุปสถานภาพเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝากรายบุคคลบันทึกลงในสมุดคู่มือฝากเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก(อ.1) และถ้ายอดเงินฝากที่ยกมาจากปีงบประมาณ ที่แล้วและเงินฝากระหว่างปีไม่ถูกต้อง ให้ทำหนังสือขอแก้ไขพร้อมส่งสมุดคู่มือฝากเงินออมทรัพย์ ข้าราชการกองทัพบก(อ.1) เสนอกรมสวัสดิการทหารบกภายใน 30 วัน หลังจากที่ได้รับบัญชีสรุปสถานภาพเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝากรายบุคคล
16.8.4.2 ในเดือนพฤษภาคมของทุกปี กรมสวัสดิการทหารบกจัดส่งบัญชีสรุปสถานภาพเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝาก ให้หน่วยศูนย์ข้อมูลย่อยการออมทรัพย์ ข้าราชการกองทัพบกตรวจสอบความถูกต้องของเงินฝากประจำตามชั้นยศ และเงินฝากสมทบของ ข้าราชการกรณีข้อมูลไม่ถูกต้องให้หน่วยทำหนังสือขอแก้ไขหรือตรวจสอบแล้วถูกต้อง ให้แจ้ง กรมสวัสดิการทหารบกทราบภายใน 30 วัน หลังจากได้รับบัญชีสรุปสถานภาพเงินออมทรัพย์ข้าราชการ กองทัพบกฝากจากกรมสวัสดิการทหารบก
16.9 กรณีขอถอนเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝาก ให้ตรวจสอบยอด เงินฝากและคำนวณดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ตรวจสอบหนี้สินจากการกู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก เพื่อหักชำระหนี้ก่อนการจ่ายเงิน เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้วให้เสนอรายงานพร้อมหลักฐานไปที่ กรมสวัสดิการทหารบก เพื่อพิจารณาตรวจสอบและอนุมัติสั่งจ่ายเงินไปให้หน่วยดำเนินการจ่ายเงิน ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝากให้แก่ผู้ขอถอนเงินฝากคืนต่อไป
16.10 รวบรวมความต้องการของข้าราชการกองทัพบกที่ขอกู้เงินออมทรัพย์ ข้าราชการกองทัพบกภายในหน่วย เพื่อทำรายงานขอซื้อสัญญาเงินกู้จากกรมสวัสดิการทหารบก
16.11 ตรวจสอบการกู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกจากหลักฐานของผู้กู้เงิน ตรวจสอบหลักเกณฑ์การกู้เงินเมื่อเห็นว่าถูกต้องและมีสิทธิกู้เงินได้ให้เสนอรายงานขออนุมัติผู้บังคับหน่วย และเสนอเรื่องถึงกรมสวัสดิการทหารบก
16.12 การดำเนินการจ่ายเงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทบำบัดทุกข์
16.12.1 เมื่อกรมสวัสดิการทหารบกส่งคำขอกู้เงิน(อ.4) คู่ฉบับพร้อมรายชื่อผู้กู้คืนหน่วย แสดงว่าได้ดำเนินกรรมวิธีสิ้นสุด เจ้าหน้าที่ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกของหน่วยปฏิบัติบัญชีตามระบบบัญชีสำหรับส่วนราชการจะตรวจสอบหลักฐานและส่งมอบสัญญากู้เงิน(อ.5) จำนวน 5 ฉบับ เอกสารยืนยันจากกรมสวัสดิการทหารบกพร้อมด้วยรายชื่อผู้กู้ ให้กับสำนักงานการเงินของหน่วยปฏิบัติบัญชีตามระบบบัญชีสำหรับส่วนราชการและหรือเจ้าหน้าที่การเงินของแผนกสัสดีจังหวัด ซึ่ง สำนักงานการเงินของหน่วยและหรือเจ้าหน้าที่การเงินของแผนกสัสดีจังหวัดเก็บไว้ 1 ฉบับ ส่งคืนให้ เจ้าหน้าที่ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกเก็บไว้ 1 ฉบับ ส่งคืนกรมสวัสดิการทหารบก 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับเงินจากกรมสวัสดิการทหารบก ส่วนที่เหลืออีก 2 ฉบับ ให้หน่วยปฏิบัติบัญชี ตามระบบบัญชีสำหรับส่วนราชการย่อยเก็บไว้ 1 ฉบับ และผู้กู้เก็บไว้ 1 ฉบับ
16.12.2 สำนักงานการเงินของหน่วยปฏิบัติบัญชีตามระบบบัญชีสำหรับส่วนราชการและหรือเจ้าหน้าที่การเงินแผนกสัสดีจังหวัดรับหลักฐานจากเจ้าหน้าที่ออมทรัพย์ข้าราชการ กองทัพบกแล้วดำเนินการขออนุมัติผู้บังคับหน่วยเบิกเงินเพื่อจ่ายให้กับผู้กู้หรือสำนักงานการเงินของหน่วยปฏิบัติบัญชีตามระบบบัญชีสำหรับส่วนราชการย่อย ในกรณีที่ผู้กู้ไม่สามารถหรือไม่สะดวกในการมารับเงินด้วยตนเอง ผู้กู้จะต้องทำหลักฐานใบมอบฉันทะให้รับเงินแทนตนด้วย
16.12.3 การจ่ายเงินของหน่วยปฏิบัติบัญชีตามระบบบัญชีสำหรับส่วน ราชการให้กับหน่วยปฏิบัติบัญชีตามระบบบัญชีสำหรับส่วนราชการย่อย ให้ใช้ใบนำส่งเงิน(กง.4) พร้อม รายชื่อของผู้กู้และจำนวนเงินกู้, สัญญากู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก(อ.5) จำนวน 2 ฉบับ เป็น หลักฐานการจ่าย พร้อมทั้งแจ้งเป็นหลักฐานให้ผู้บังคับหน่วยของผู้กู้ทราบ กรณีจะขอรับเงินกู้ออมทรัพย์ ข้าราชการกองทัพบกเพื่อจ่ายให้ผู้กู้ด้วย
16.12.4 การจ่ายเงินของสำนักงานการเงินของหน่วยและหรือเจ้าหน้าที่ การเงินของแผนกสัสดีจังหวัดให้กับผู้กู้หรือผู้รับมอบฉันทะ ให้ใช้ใบสรุปการจ่ายเงิน(กง.13) และสัญญา กู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก (อ.5) เป็นหลักฐานการจ่ายเงิน
16.13 จัดทำและลงทะเบียนคุมผู้กู้เงินในสมุดทะเบียนคุมลูกหนี้(อ.6) แต่ละประเภทของการกู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก โดยแยกประเภทการกู้เงินและแยกประเภท สัญญาบัตร และต่ำกว่าสัญญาบัตร
16.14 สำหรับการส่งเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝากและการส่งชำระคืนเงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกทุกประเภทของหน่วยปฏิบัติบัญชีตามระบบบัญชีสำหรับส่วนราชการและหน่วยปฏิบัติบัญชีตามระบบบัญชีสำหรับส่วนราชการย่อยต่อกรมสวัสดิการทหารบก ให้ปฏิบัติดังนี้
16.14.1 ก่อนถึงกำหนดวันจ่ายเงินเดือน 7 วันทำการ ให้เจ้าหน้าที่ ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกของหน่วยปฏิบัติบัญชีตามระบบบัญชีสำหรับส่วนราชการ และหน่วยปฏิบัติบัญชีตามระบบบัญชีสำหรับส่วนราชการย่อย จัดทำบัญชีรายละเอียดรายชื่อและจำนวนเงินของ เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝาก เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทบำบัดทุกข์ เงินกู้ ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทพิเศษ และเงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทเพื่อการเคหสงเคราะห์ โดยแยกแต่ละรายการให้ชัดเจนอย่างละ 3 ชุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้ ส่งให้สำนักงานการเงินของหน่วย และหรือเจ้าหน้าที่การเงินของแผนกสัสดีจังหวัด 2 ชุด เก็บไว้เป็นหลักฐาน 1 ชุด เมื่อสำนักงานการเงินของหน่วย และหรือเจ้าหน้าที่การเงินของแผนกสัสดีจังหวัดได้ตรวจสอบความถูกต้องแล้ว ให้ส่งบัญชีรายละเอียดดังกล่าวคืนต่อเจ้าหน้าที่ออมทรัพย์ข้าราชการ กองทัพบกของหน่วย 1 ชุด เพื่อที่จะได้ดำเนินการส่งให้กรมสวัสดิการทหารบก โดยผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ภายในวันสิ้นเดือน ส่วนอีก 1 ชุด ให้สำนักงานการเงิน และหรือเจ้าหน้าที่การเงินของแผนกสัสดีจังหวัด ของหน่วยเก็บไว้เป็นหลักฐาน
16.14.2 การนำส่งเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝาก และเงินกู้ ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกทุกประเภทต่อกรมสวัสดิการทหารบก ให้สำนักงานการเงินของหน่วยปฏิบัติบัญชีตามระบบบัญชีสำหรับส่วนราชการเป็นผู้ดำเนินการ โดยสำนักงานการเงินของหน่วยปฏิบัติบัญชีตามระบบบัญชีสำหรับส่วนราชการย่อยต้องจัดทำใบนำส่งเงิน (กง.4) พร้อมกับแยกแสดงรายการและจำนวนเงินของเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝาก เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกแต่ละประเภทไว้ในใบนำส่งเงิน(กง.4) แล้วส่งให้สำนักงานการเงินของหน่วยปฏิบัติบัญชีตามระบบบัญชีสำหรับส่วน ราชการภายในวันจ่ายเงินเดือนเพื่อดำเนินการต่อไป
16.14.3 ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงจำนวนข้าราชการและสำนักเบิกเงินเดือนใหม่
ให้สำนักงานการเงินของหน่วยและหรือเจ้าหน้าที่การเงินของแผนกสัสดีจังหวัดที่มีการเปลี่ยนแปลง บันทึกรายละเอียดนั้นไว้ในบัญชีรายละเอียดตามที่เจ้าหน้าที่ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก จัดทำตามข้อ6.14.1 แล้วส่งคืนให้เจ้าหน้าที่ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกของหน่วยนั้น เพื่อดำเนินการส่งให้ กรมสวัสดิการทหารบกภายในกำหนดเวลาตามข้อ 16.14.1
16.14.4 การนำส่งเงินของหน่วยปฏิบัติบัญชีตามระบบบัญชีสำหรับส่วนราชการให้กับกรมสวัสดิการทหารบก ให้ถือปฏิบัติตามที่กรมสวัสดิการทหารบกกำหนด
16.14.4.1 หน่วยปฏิบัติบัญชีตามระบบบัญชีสำหรับส่วน ราชการนำส่งเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝากและเงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกทุกประเภทให้กรมสวัสดิการทหารบกผ่านธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สาขาที่หน่วยใช้บริการ
16.14.4.2 ให้หน่วยผู้ส่งเงินสำเนาเอกสารโอนเงินฉบับที่ธนาคารรับรองให้กรมสวัสดิการทหารบก 1 ชุด พร้อมบัญชีรายละเอียดการส่งเงินประจำงวด
16.14.5 เมื่อกรมสวัสดิการทหารบกได้รับเงินจากหน่วยปฏิบัติบัญชีตามระบบบัญชีสำหรับส่วนราชการและบัญชีรายละเอียดตามข้อ 16.14.1 จากเจ้าหน้าที่ออมทรัพย์ข้าราชการ กองทัพบกของหน่วย ให้เร่งรัดการตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องให้หน่วยปฏิบัติบัญชีสำหรับ ส่วนราชการทราบภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ได้รับเงิน
16.14.6 การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการรับ-จ่าย และการนำส่งเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝาก เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทบำบัดทุกข์ เงินกู้ออมทรัพย์ ข้าราชการกองทัพบกประเภทพิเศษและเงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทเพื่อการเคหสงเคราะห์ให้หน่วยปฏิบัติบัญชีตามระบบบัญชีสำหรับส่วนราชการและหน่วยปฏิบัติบัญชีตามระบบบัญชีสำหรับ ส่วนราชการย่อย แยกบัญชีเป็นแต่ละประเภทโดยสอดคล้องกับรายละเอียดที่เจ้าหน้าที่ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกได้จัดทำขึ้นตามข้อ 16.14.1 โดยปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการบัญชีเงินราชการ พ.ศ.2532
16.15 ตรวจสอบผลการชำระหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกทุกประเภทของข้าราชการตามที่เสนอให้ฝ่ายการเงินของหน่วยหักเงิน โดยนำลงทะเบียนคุมลูกหนี้(อ.6) หากไม่ครบถ้วนตามบัญชีรายชื่อที่เสนอฝ่ายการเงินของหน่วยหักเงิน ให้ทำรายงานผู้บังคับบัญชาหน่วย เพื่อแจ้งผลให้กรมสวัสดิการทหารบกพร้อมกับบัญชีรายละเอียดในข้อ 16.14
16.16 เมื่อข้าราชการย้ายสังกัดไปหน่วยอื่น ให้เจ้าหน้าที่ออมทรัพย์ข้าราชการ กองทัพบกของหน่วยต้นสังกัดเดิม ดำเนินการดังนี้
16.16.1 ตรวจสอบการบันทึกสมุดคู่มือฝากเงินออมทรัพย์ข้าราชการ กองทัพบก (อ.1) ให้ถูกต้อง
16.16.2 บันทึกในแบบแจ้งการหักเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝากของผู้โอน, ย้าย (บช.อ.20 - 1) 4 ชุด
16.16.3 บันทึกในแบบแจ้งการหักเงินชำระหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกของผู้กู้, โอน, ย้าย (บช.อ.20 - 2) 4 ชุด
16.16.4 ให้ส่งหลักฐานตามข้อ 16.16.1 ไปให้หน่วยใหม่พร้อมหนังสือส่งตัว
16.16.5 ให้ส่งหลักฐานตามข้อ 16.16.2 1 ชุด และข้อ 16.16.3 1 ชุด ให้หน่วยใหม่พร้อมหนังสือส่งตัว หน่วยเดิมเก็บไว้ 2 ชุด และส่งให้กรมสวัสดิการทหารบก 1 ชุด
16.16.6 บันทึกในทะเบียนผู้กู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก (อ.6)ด้วยหมึกสีแดงถึงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงทั้งหน่วยเดิมและหน่วยใหม่
16.17 เมื่อข้าราชการย้ายสังกัดเข้าหน่วยใหม่ให้เจ้าหน้าที่ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกของหน่วยใหม่ ตรวจรับเอกสารตามข้อ 16.16.4 , ข้อ 16.16.5 และให้ดำเนินการตามข้อ 16.16.6 และให้เสนอรายงานผู้บังคับหน่วยสั่งการหักเงินชำระหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก ให้ทันตามงวดชำระโดยต่อเนื่อง ถ้าหักไม่ทันให้ควบ 2 งวด จนกว่าจะตรงตามเดือนในงวดชำระนั้น ๆ
16.18 ในกรณีผู้กู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกขาดการชำระหนี้เงินกู้ ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกในเดือนใด ให้เจ้าหน้าที่ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกลงในบัญชี รายละเอียดการหักเงินชำระหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประจำเดือนและให้รายงานผู้บังคับบัญชาหน่วยพิจารณาการหักเงินชำระหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก ตามเงื่อนไขที่ กรมสวัสดิการทหารบกกำหนดในแต่ละประเภทเงินกู้ และแจ้งผลให้กรมสวัสดิการทหารบกทราบทันที
16.19 ในกรณีย้ายหน่วยหลังจากยื่นคำขอกู้เงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทบำบัดทุกข์ไว้ ถ้ากรมสวัสดิการทหารบกได้โอนเงินไปจ่ายแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกต้นสังกัดเดิมส่งเงินคืนกรมสวัสดิการทหารบกในทันที
16.20 เสนอขออนุมัติการจ้างลูกจ้างชั่วคราวเพื่อปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการ ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกของหน่วยตามที่ได้รับจัดสรรเงินงบประมาณออมทรัพย์ข้าราชการ กองทัพบกประจำปีจากกรมสวัสดิการทหารบก
ข้อ 17. ให้ใช้แบบพิมพ์สำหรับกิจการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกตามรายละเอียด แบบพิมพ์ที่แนบท้ายระเบียบนี้
ข้อ 18. การบัญชี การตรวจสอบบัญชี และการรายงานทางการเงินประจำปี
18.1 ให้กิจการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกใช้ระบบบัญชีตามที่กองทัพบกกำหนด
18.2 งวดบัญชีของกิจการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก มีระยะเวลา 12 เดือน เริ่มต้นและสิ้นสุดตามปีงบประมาณ
18.3 เมื่อสิ้นงวดบัญชีให้กรมสวัสดิการทหารบก ดำเนินการดังนี้
18.3.1 จัดเตรียมบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีของการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกไว้ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย พร้อมที่จะรับการตรวจสอบจากหน่วยที่เกี่ยวข้อง
18.3.2 จัดทำบัญชีกำไรขาดทุนและงบดุลให้เสร็จสิ้นภายใน 120 วัน เพื่อรายงานผลการดำเนินงานต่อกองทัพบกผ่านสำนักงานตรวจบัญชีกองทัพบก

18.4 รายงานทางการเงินที่กองทัพบกได้สั่งการแล้ว ให้สำนักงานปลัดบัญชี กองทัพบกแจ้งให้กรมสวัสดิการทหารบกทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุงให้เรียบร้อย
ข้อ 19. ให้กรมสวัสดิการทหารบกเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ กับให้มีอำนาจ ออกระเบียบปลีกย่อยอื่น ๆ ได้ตามความจำเป็น

ประกาศ ณ วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2548
( ลงชื่อ )
ประวิตร วงษ์สุวรรณ พลเอก
( ประวิตร วงษ์สุวรรณ )

ผู้บัญชาการทหารบก


กรมสวัสดิการทหารบก


















ผนวก ก.

ว่าด้วยการกำหนดการฝากเงิน และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก
(ประกอบระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก พ.ศ. 2548)
1. อัตราการฝากเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝาก
1.1 ข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร ให้ฝากเดือนละ 50.- บาท
1.2 ข้าราชการชั้นนายร้อย ให้ฝากเดือนละ 100.- บาท
1.3 ข้าราชการชั้นนายพัน ให้ฝากเดือนละ 200.- บาท
1.4 ข้าราชการชั้นพันเอก (อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ)
และนายพล ให้ฝากเดือนละ 300.- บาท
2. อัตราดอกเบี้ยเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝาก อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.48 ให้เปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 4 ต่อปี


-------------------------------------------
















ผนวก ข.
ว่าด้วยการกำหนดการกู้เงิน และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก
(ประกอบระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก พ.ศ. 2548)
1. เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก ประเภทบำบัดทุกข์
1.1 วงเงินกู้ให้กู้ได้โดยถือจำนวนเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝากเป็นเกณฑ์กำหนด วงเงินกู้สูงสุดไว้เท่าจำนวนเงินออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกฝากของผู้กู้ที่มีอยู่ โดยให้กู้ในจำนวน หลักพัน จำนวนที่เกินไม่นำมาคิดรวมเป็นวงเงินให้กู้
1.2 อัตราดอกเบี้ย อัตราร้อยละ 6.5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.48 ให้เปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเป็น ร้อยละ 5.5 ต่อปี
2. เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก ประเภทพิเศษ
2.1 วงเงินกู้
2.1.1 ข้าราชการชั้นยศ พลอาสาสมัคร – สิบเอก กู้ได้ไม่เกิน 150,000.- บาท
2.1.2 ข้าราชการชั้นยศ จ่าสิบตรี – จ่าสิบเอก กู้ได้ไม่เกิน 200,000.- บาท
2.1.3 ข้าราชการชั้นยศ ร้อยตรี - ร้อยเอก กู้ได้ไม่เกิน 300,000.- บาท
2.1.4 ข้าราชการชั้นยศ พันตรี กู้ได้ไม่เกิน 400,000.- บาท
2.1.5 ข้าราชการชั้นยศ พันโท กู้ได้ไม่เกิน 500,000.- บาท
2.1.6 ข้าราชการชั้นยศ พันเอก กู้ได้ไม่เกิน 600,000.- บาท
2.1.7 ข้าราชการชั้นยศ พันเอก
(อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ) กู้ได้ไม่เกิน 800,000.- บาท
2.1.8 ข้าราชการชั้นยศ พลตรีขึ้นไป กู้ได้ไม่เกิน 1,000,000.- บาท
2.2 อัตราดอกเบี้ยทุกวงเงินกู้ อัตราร้อยละ 6.5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.48 ให้เปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเป็น ร้อยละ 5.5 ต่อปี
3. เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก ประเภทเพื่อการเคหสงเคราะห์
3.1 วงเงินกู้
3.1.1 ข้าราชการชั้นยศ พลอาสาสมัคร – จ่าสิบเอก กู้ได้ไม่เกิน 700,000.- บาท
3.1.2 ข้าราชการชั้นยศ ร้อยตรี - ร้อยเอก กู้ได้ไม่เกิน 1,000,000.- บาท
3.1.3 ข้าราชการชั้นยศ พันตรี กู้ได้ไม่เกิน 1,200,000.- บาท
3.1.4 ข้าราชการชั้นยศ พันโท กู้ได้ไม่เกิน 1,500,000.- บาท
3.1.5 ข้าราชการชั้นยศ พันเอก กู้ได้ไม่เกิน 1,800,000.- บาท
3.1.6 ข้าราชการชั้นยศ พลตรีขึ้นไป กู้ได้ไม่เกิน 2,000,000.- บาท
3.2 อัตราดอกเบี้ยทุกวงเงินกู้ อัตราร้อยละ 6.5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.48 ให้เปลี่ยน

( สำเนา )

ระเบียบกองทัพบก
ว่าด้วยการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก
( ฉบับที่ 2 )
พ.ศ.2548
----------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขระเบียบกองทัพบกว่าด้วยการออมทรัพย์ ข้าราชการกองทัพบก พ.ศ.2548 ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงกำหนดระเบียบการออมทรัพย์ข้าราชการ กองทัพบก ไว้ดังนี้.-
ข้อ 1. ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการออมทรัพย์ข้าราชการ กองทัพบก (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2548 ”
ข้อ 2. ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ 3. ให้ยกเลิกข้อความ
3.1 ในข้อ 11.8 แห่งระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก พ.ศ.2548 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
“11.8 การผ่อนชำระหนี้เงินกู้ออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบกประเภทเพื่อการเคห
สงเคราะห์ มีระยะเวลาผ่อนชำระ 10 ปี 15 ปี 20 ปี 25 ปี และ 30 ปี เลือกผ่อนได้ตามเกณฑ์อายุดังนี้
11.8.1 การผ่อนชำระหนี้เงินกู้ 30 ปี ผู้กู้ต้องมีอายุไม่เกิน 35 ปี
11.8.2 การผ่อนชำระหนี้เงินกู้ 25 ปี ผู้กู้ต้องมีอายุไม่เกิน 40 ปี
11.8.3 การผ่อนชำระหนี้เงินกู้ 20 ปี ผู้กู้ต้องมีอายุไม่เกิน 45 ปี
11.8.4 การผ่อนชำระหนี้เงินกู้ 15 ปี ผู้กู้ต้องมีอายุไม่เกิน 50 ปี
11.8.5 การผ่อนชำระหนี้เงินกู้ 10 ปี ผู้กู้ต้องมีอายุไม่เกิน 55 ปี ”
3.2 ผนวก ข ในข้อ 3.1 แห่งระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการออมทรัพย์ข้าราชการ กองทัพบก พ.ศ.2548 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
“ 3.1 วงเงินกู้
3.1.1 ข้าราชการชั้นยศ พลอาสาสมัคร-สิบเอก กู้ได้ไม่เกิน 700,000.- บาท
3.1.2 ข้าราชการชั้นยศ จ่าสิบตรี-จ่าสิบเอก กู้ได้ไม่เกิน 850,000.- บาท
3.1.3 ข้าราชการชั้นยศ ร้อยตรี-ร้อยเอก กู้ได้ไม่เกิน 1,000,000.- บาท
3.1.4 ข้าราชการชั้นยศ พันตรี กู้ได้ไม่เกิน 1,200,000.- บาท
3.1.5 ข้าราชการชั้นยศ พันโท กู้ได้ไม่เกิน 1,500,000.- บาท
3.1.6 ข้าราชการชั้นยศ พันเอก กู้ได้ไม่เกิน 1,800,000.- บาท
3.1.7 ข้าราชการชั้นยศ พลตรีขึ้นไป กู้ได้ไม่เกิน 2,000,000.- บาท”
ข้อ 4 ให้กรมสวัสดิการทหารบก เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2548
( ลงชื่อ )
สนธิ บุญยรัตกลิน
พลเอก
( สนธิ บุญยรัตกลิน )

ผู้บัญชาการทหารบก

กรมสวัสดิการทหารบก

วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2551

อทบ.ฝาก

การดำเนินงานฝากเงิน
อัตราการฝากข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร เดือนละ 50 บาท
ข้าราชการชั้นนายร้อย เดือนละ 100 บาท
ข้าราชการชั้นนายพัน เดือนละ 200 บาท
ข้าราชการชั้นพันเอก(พ)
และ ข้าราชการชั้นนายพล เดือนละ 300 บาท

การฝากสมทบ (ตามความประสงค์ของผู้ฝาก)
เริ่มฝากตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ (ต.ค.- ก.ย.)
ฝากเป็นหลักร้อยตลอดปีงบประมาณ

การระงับเงินฝาก
ก่อนการเกษียณอายุราชการ 1 ปี

อัตราดอกเบี้ย
ร้อยละ 4 ต่อปี

วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2551

บ้านดิน

รู้จักบ้านดินบ้านดิน คือบ้านธรรมชาติ บ้านที่สามารถหาวัสดุจากรอบข้างนำมาสร้างเป็นบ้าน บ้านหนึ่งหลังอาจใข้ดินที่อยู่ข้างบ้านกับกับแรงกาย ค่อย ๆ ลงแรงสร้างจนกลายเป็นบ้านคุณภาพ โดยใช้ทุนเพียงเล็กน้อยบ้านดิน ต้องใช้แรงงานในการสร้างมาก ถึงแม้จะใช้ต้นทุนในการสร้างต่ำ บ้านดินจึงเหมาะสำหรับการลงแรงช่วยกันสร้าง อาจใช้เวลาว่างในช่วงวันหยุด มาช่วยกันสร้าง สร้างบ้านดิน 1 หลัง มีคุณค่ามากกว่าบ้าน 1 หลัง บ้านอาจจะหมายถึง มิตรภาพ, สุขภาพ, ความภูมิใจ ปลดปล่อยการเป็นทาสจากของเงินตราที่เราต้องถูกหลอกชั่วชีวิตให้ทำงานอย่าง หามรุ่งหามค่ำ บ้านดินใช้ทุนน้อย แต่คุณค่ามากมายจนไม่สามารถประเมินค่าได้บ้านดิน คือนิยามของความสุข หนึ่งชีวิตหากต้องการมีบ้านสักหลังหนึ่งอาจต้องใช้เวลาชั่วชีวิตเพื่อหาเงิน หรือใช้หนี้ ซึ่งแตกต่างจากการสร้างบ้านธรรมชาติหรือบ้านดินโดยสิ้นเชิง แค่แรงกายกับเงินอีกเพียงเล็กน้อย ในระยะเวลาไม่กี่เดือน เราสามารถมีบ้านเป็นของตนเองได้แล้วบ้านดินที่พบเห็นมีวิธีการสร้างหลายเทคนิค ได้แก่แบบปั้น (Cob) เป็นเทคนิคปั้นบ้านขึ้นเป็นหลังโดยใช้ดินเหนียวผสมกับฟางข้าว ปั้นขึ้นเรื่อย ๆ บ้านที่สร้างด้วยเทคนิคนี้ สามารถก่อฝาผนังได้สูงประมาณครั้งละ 1 ฟุต ต้องรอให้ดินแห้งสนิท ถึงจะปั้นก่อชั้นต่อไปได้ บ้านดินที่สร้างด้วยเทคนิคนี้จะมีความแข็งแรงมาก กว่าเทคนิคอื่น ๆแบบอิฐดิบ (Adobe Brick) เทคนิคนี้ จะใช้วิธีนำดินมาผสมกับเส้นใย เช่น แกลบ เศษหญ้า หรืออาจะใช้ฟางข้าว นำมาผสมกับโคลน และปั้นเป็นอิฐดิน และนำมาก่อเป็นฝาผนังบ้าน โดยใช้โคลนเป็นตัวประสาน วิธีการสร้างบ้านด้วยเทคนิคนี้ง่าย สามารถก่อสร้างได้รวดเร็ว มีความแข็งแรง เทคนิคนี้เป็นที่นิยมในเมืองไทย แต่อาจต้องใช้แรงงานมากแบบโครงไม้(wattle&daub) เริ่มต้นทำโครงสร้างเป็นไม้สานกันเป็นตาราง และนำฟางชุบด้วยโคลนโป๊ะเป็นฝาผนัง การสร้างบ้านด้วยเทคนิคนี้ สามารถสร้างได้ง่าย ใช้แรงน้อย ถ้าทำฝาผนังให้หนา มีความแข็งแรง ไม่แพ้การก่อด้วยอิฐดิบ ข้อจำกัดในเรื่องของการฉาบ อาจจะต้องฉาบหลายครั้ง ถ้าต้องการให้ฝาผนังเรียบ แห้งช้าหากอยู่ในร่มแบบใช้ดินอัด (rammed earth) เป็นการก่อสร้างฝาผนังโดยทำแบบพิมพ์ แล้วนำดินเหนียวอัด เป็นฝาผนัง เทคนิคนี้ ไม่ค่อยพบในเมืองไทยแบบใช้ท่อนไม้หรือหิน (cord wood or stones) เป็นการก่อสร้างฝาผนัง โดยการนำเศษไม้หรือหิน มาก่อเป็นฝาผนังบ้าน โดยใช้ดินเป็นตัวประสาน และทำการฉาบด้วยดินอีกชั้นหนึ่งแบบกระสอบทราย (sand bag) เป็นการก่อสร้างบ้านโดยใช้กระสอบใส่ทรายให้เต็มและนำมาวางเรียง อาจจะใช้ลวดหนาม เป็นตัวช่วยยึดให้กระสอบไม่เลือนไหล และฉาบด้วยดินอีกครั้ง เทคนิคนี้ มีการใช้มากในพื้นที่ ที่เกิดสงครามหรือมีการอพยบ พื้นที่ไม่สามารถเข้าไปถึงได้โดยง่าย อาจมีการส่งกระสอบทรายโดยทางเครื่องบินและส่งเจ้าหน้าที่ไปช่วยแนะนำวิธี เพียง 1 - 2 คน ก็สามารถสร้างบ้านได้ในระยะเวลาที่รวดเร็ว หลังจากที่ทิ้งกระสอบทรายลงไป ใช้เป็นเพียง 2 - 3 วัน ก็จะมีบ้านเกิดขึ้นจำนวนมากเอก สล่าเอื้องจัน28 มกราคม 2548



บ้านดิน อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนที่อยากมีบ้านบ้านหนึ่งหลัง ต้องตัดต้นไม้ที่มีอายุครึ่งค่อนชีวิตของคน หรือระเบิดภูเขาหิน เพื่อนำมาสร้าง ป่าไม้หรือภูเขาหินเหล่านี้ คงไม่มีโอกาสที่จะกลับมาเป็นแบบเดิมได้อีกต่อไป หนึ่งหลังที่ทำ สิบหลัง ร้อยหลัง ที่สร้างขึ้น ทำให้ป่าเขาและธรรมชาติที่มีอยู่น้อยแล้ว จะต้องหมดไป ลูกหลานของเราคงจะไม่มีโอกาส ได้เห็น ได้สัมผัสกับต้นไม้ใหญ่ ภูเขาหิน สิ่งเหล่านี้จะเป็นเพียงภาพหรือสิ่งที่จำลอง เอาไว้ให้พวกเขาเหล่านั้นได้ดูเท่านั้นบ้านปกติหนึ่งหลัง มีอายุประมาณ 50 ปี ปูนจะเริ่มร่อน ตามกฏหมายต้องรื้อทิ้ง แต่บ้านดิน ที่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นห้องแถว 2 ชั้น ที่ชาวจีนล่องตามน้ำโขง มาค้าขายและได้สร้างขึ้น ปัจจุบันมีอายุเกือบ 100 ปีแล้ว ถึงแม้ไม้ที่เป็นองค์ประกอบบางส่วนจะผุกร่อนไป แต่ในส่วนของดินก็ยังคงอยู่ ไม่เสื่อมสลาย บ้านดินจึงเป็นบ้านที่มีความคงทนแข็งแรง คุณภาพ เทียบเท่า หรือดีกว่าบ้านปกติบ้านดินถูกสร้างขึ้นมาโดยการเปลี่ยนรูปจากดินให้เป็นบ้านเท่านั้น เมื่อเราสร้างขึ้นแล้วไม่พอใจเราสามารถรื้อและสร้างใหม่ได้ทันทันที บ้านดินจะเปลี่ยนบ้านกลับเป็นดินดังสะภาพเดิม มีคนเคยกล่าวไว้ว่า "เมื่อรื้อลงบ้านดินสามารถปลูกผักได้ทันที" ชึ่งตรงกันข้ามกับบ้านปูน ที่ต้องเสียเวลาในการจัดการขยะปูนกองโต บ้านดินจึงเป็นบ้านที่เป็นมิตรกับธรรมชาติอย่างแท้จริงบ้านดิน มีอุณภูมิภายใน 24 - 26 องศาเซ็นเซียส ตลอดทั้งปี ซึ่งเป็นอุณภูมิที่ มนุษย์สามารถอยู่ได้อย่างสบาย ไม่ต้องติดแอร์ อีกทั้งฝาผนังบ้านดินยังสามารถดูดซึมความชื้นได้ดี ดังนั้นบ้านดิน จึงช่วยปรับความชื้นภายในได้เป็นอย่างดี ดังที่มีผู้กล่าวว่า "บ้านดินสามารถหายใจได้ บ้านดินคือบ้านที่มีชีวิต"ในประเทศเกาหลี เชื่อว่าธาตุที่อยู่ในตัวเราประกอบไปด้วย ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ สมัยนี้คนเราแทบจะไม่ได้สัมผัสกับดิน จึงทำให้ขาดสมดุลภายในร่างกาย การได้สัมผัสกับดิน จะทำให้เกิดความสมดุลขึ้น คนเกาหลียังเชื่อว่า ถ้าคนเราอยู่ในบ้านที่สร้างด้วยดินธาตุในดินจะระเหยแซกซึมเข้าสู่ร่างกาย ทำสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งอาจจะจริงตามที่ได้พบเห็น เดียวนี้คนเราป่วยเข้าโรงพยาบาลกันเป็นจำนวนมาก เพราะไม่ได้สัมผัสกับดิน บางคนยังกล่าวว่า บ้านปูนดูดพลังจากเราไปส่วนดินนั้นให้พลังกับเราบ้านดินเป็นบ้านที่ราคาถูก ถ้าคิดเป็นสัดส่วนของบ้านปกติ บ้านดินจะใช้ทุนเพียง 30% ของบ้านปกติ ถ้าเราสร้างบ้านปกติหลังละ 4 แสนบาท บ้านดินที่สมบูรณ์แบบ จะใช้ทุนเพียง 1 แสนเศษเท่านั้น และบ้านดินยังใช้เวลาในการก่อสร้าง ไม่ถึง 2 อาทิตย์ สามารถเข้าอยู่อาศัยได้ บ้านดินจึงเป็นอีกทางเหลือหนึ่งสำหรับคนที่อยากมีบ้าน บ้านปกติหนึ่งหลังอาจใช้เวลาในการสะสมทุนเพื่อก่อสร้าง 20 - 30 ปี หรือครึ่งหนึ่งของการมีชีวิต แต่บ้านดินหนึ่งหลังสามารถ สร้างได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง ถ้าเราใช้เวลาว่างจากการทำงานเพียงแค่วันละ 2 - 3 ชั่วโมงในการสร้างบ้าน ในระยะเวลา 3 เดือน เราจะได้บ้านดินคุณภาพ ขนาด 2 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ ได้โดยไม่ยาก
page="a_baandin";

jsver=1.2;sc_solution=screen.width+'x'+screen.height;sc_color=(navigator.appName.indexOf('Microsoft')!=-1)?screen.colorDepth:screen.pixelDepth;if(sc_color=='undefined'){sc_color='undefined';}
jsver=1.3;

var websiteID='baandin.com';


ขั้นตอนในการดำเนินการก่อสร้างบ้านดินขั้นตอนในการก่อสร้างบ้านดิน อาจจะแตกต่างจากการก่อสร้างบ้านทั่วไป เนื่องจากบ้านดินไม่มีระบบโครงสร้าง บ้านดินใช้กำแพงรับน้ำหนัก เพื่อให้การดำเนินการ ก่อสร้างกระชับ ทำได้รวดเร็ว การดำเนินการก่อสร้างบ้านดินมีขั้นตอนดังนี้ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกบ้าน พื้นที่สำหรับทำบ้านดิน ควรเป็นพื้นที่ ที่น้ำท่วมไม่ถึง ไม่ใช่ทางน้ำไหลบ่า หากเป็นพื้นที่ถมดินใหม่ควรถมทิ้งไว้ประมาณ 1 ปี หรือผ่านช่วงฤดูฝนสัก 1 ครั้ง ขั้นตอนที่ 2 การทำอิฐดิน การทำอิฐดินสำหรับผู้ที่ออกแรงเป็นประจำจะทำอิฐดินได้วันละ 70 - 100 ก้อน การตากอิฐดินใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน เมื่อตากอิฐได้ประมาณ 2-3 วันให้พลิกอิฐขึ้นตั้งทางด้านแนวนอน และทำการแต่งก้อนอิฐในช่วงเวลานี้ จะมีฝุ่นกระจายออกมาน้อย เมื่ออิฐแห้งสนิทดีแล้วควรนำอิฐมากองรวมกันไว้กลางบ้าน เพื่อสะดวกและก่อกำแพงได้รวดเร็ว การขนย้ายควร ทำเพียงครั้งเดียว จากบริเวณตากอิฐมาที่กลางบ้าน ขั้นตอนที่ 3 การทำรากฐานบ้าน การทำรากฐานบ้านดิน ควรทำรากฐานให้เสร็จและถมดินให้เรียบร้อยก่อนขนย้ายอิฐดินขึ้นมากองไว้กลางบ้าน ขั้นตอนที่ 4 การก่อกำแพงบ้านหลังจากที่นำอิฐดินมากองไว้กลางบ้านเรียบร้อยแล้ว ช่วงแรกของการก่อกำแพงบ้านจะเร็ว หากก่อขึ้นสูง การทำงานอาจจะช้าลงเพราะ ต้องส่งอิฐดินขึ้นสูง ช่วงนี้อาจติดตั้งวงกบประตูหน้าต่างได้ หรืออาจจะเว้นช่องเอาไว้ติดตั้งในช่วงฉาบ แรงงาน 3 คนสามารถก่ออิฐดินได้วันละ 300 - 500 ก้อน ขั้นตอนที่ 5 การขุดบ่อส้วม ในระหว่างที่ดำเนินการก่อกำแพงบ้าน หากช่วงเย็น วัสดุที่เตรียมไว้สำหรับก่อหมดอาจใช้ช่วงเวลานั้นขุดบ่อส้วมได้ หรืออาจจะขุดหลังจากที่ก่อกำแพงเสร็จขั้นตอนที่ 6 การเดินระบบไฟฟ้า ท่อน้ำดี ท่อน้ำเสีย ก่อนฉาบบ้าน ควรดินท่อน้ำดี น้ำเสีย ท่อส้วมให้เรียบร้อยก่อน เพราะจะทำให้ไม่ต้องเสียเวลา เจาะกำแพงหลังจากที่ฉาบเสร็จ ขั้นตอนที่ 7 ฉาบกำแพงบ้าน การฉาบกำแพงบ้าน ควรฉาบก่อนที่จะขึ้นโครงสร้างหลังคา เพราะหลังจากที่ฉาบเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะทำให้กำแพงบ้านมีความแข็งแรงมากขึ้น และยังช่วยให้แดดส่องกำแพงบ้านได้เต็มที่ ช่วยให้ดินที่ฉาบแห้งเร็ว ขั้นตอนที่ 8 ทำโครงสร้างหลังคา โครงสร้างหลังคา จะมีส่วนที่เชื่อมโยงกับกำแพงบ้าน อาจจะทำโครงสร้างหลังคาไปพร้อมกับงานฉาบได้ หลังจากที่วางอะเส ของโครงสร้างหลังคาเสร็จแล้ว อาจใช้ดินผสมฟางฉาบปิดอะเส เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ขั้นตอนที่ 9 มุงหลังคา การมุงหลังคาบ้าน ควรมุงหลังจากกำแพงบ้านแห้งสนิทดีแล้ว จะช่วยให้การดำเนินการเร็วขึ้น ขั้นตอนที่ 10 ทำเพดานบ้าน หลังจากมุงหลังคาบ้านเสร็จสิ้น ดำเนินการทำโครงสร้างเพดานและติดตั้งเพดานให้เสร็จสิ้น รวมทั้งทาสีเรียบให้เรียบร้อย จะช่วยให้ไม่ต้องย้ายนั่งร้านหลายครั้งขั้นตอนที่ 11 ฉาบสี หลังจากทำเพดานบ้านเสร็จสิ้น เริ่มต้นทาสีกำแพงบ้าน ควรเริ่มด้านในบ้านก่อน เพราะภายในบ้าน จะได้รับแสงแดดน้อย และอากาศทายเทได้ไม่ดีเท่าบริเวณนอกบ้าน จะทำให้สีแห้งช้า เมื่อฉาบสีด้านในบ้านเสร็จเรียบร้อย อาจจะเก็บรายละเอียดบริเวณขอบประตูหน้าต่างอีกครั้งแล้วทำการฉาบสีพื้นบ้านหรือปูกระเบื้องหากต้องการ ขั้นตอนที่ 12 เทพื้น การเทพื้น หากเป็นพื้นดิน อาจจะเทพื้นทิ้งไว้หลังจากฉาบกำแพงบ้านเรียบร้อยแล้ว เพราะพื้นดินจะใช้เวลานานกว่าที่จะแห้งสนิท อาจใช้เวลาอย่างน้อย 1 อาทิตย์ หากยังไม่ได้มุงหลังคาจะช่วยให้พื้นแห้งไวขึ้น หากเป็นพื้นปูนสามารถเทหลังจากที่ทาสีบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะทำให้ไม่ต้องจัดการกับสีที่ฉาบและร่วงลงมามากนักขั้นตอนที่ 13 ติดตั้งบานประตู หน้าต่าง หลังจากฉาบสีและเทพื้น เสร็จสิ้นแล้ว ทำการติดประตูหน้าต่างและทาสี ควรหากระดาษหรือผ้ายางรองพื้นกันสีตกลงพื้น ขั้นตอนที่ 14 ติดตั้งหลอดไฟ ติดตั้งสุขภัณฑ์ ขั้นตอนสุดท้ายเป็นการ ติดตั้งระบบไฟฟ้า ก๊อกน้ำ ชักโครกเอก สล่าเอื้องจัน20 มกราคม 2550

page="build_baandin";

jsver=1.2;sc_solution=screen.width+'x'+screen.height;sc_color=(navigator.appName.indexOf('Microsoft')!=-1)?screen.colorDepth:screen.pixelDepth;if(sc_color=='undefined'){sc_color='undefined';}
jsver=1.3;

var websiteID='baandin.com';

ความจริงเกี่ยวกับงบประมาณในการสร้างบ้านดินถึงแม้บ้านดิน จะเป็นบ้านธรรมชาติที่สามารถหาวัสดุที่อยู่รอบข้างนำมาสร้างเป็นบ้านได้ แต่อย่างไรก็ตามวัสดุต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการก่อสร้างบ้านดิน เช่น ฟางข้าว แกลบ ดิน ฯลฯ ก็จะมีราคาที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่บางพื้นที่สามารถหาได้ง่าย วัสดุบางอย่างแทบจะได้มาฟรี ดินอาจจะขุดมาจากข้างบ้าน แกลบอาจจะไปเอามาจากโรงสีภายในชุมชน บ้านดินในชนบท จึงใช้งบประมาณในการก่อสร้างน้อยมากวัสดุสำหรับก่อสร้างบ้านดินเป็นวัตถุดิบที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการแปรรูป ดังนั้นการทำอิฐดินหนึ่งก้อนต้องผ่านกระบวนการผสมผสานวัตถุดิบต่างๆ เข้าด้วยกัน และใช้แรงงานเหยียบย่ำเพื่อให้ได้ก้อนอิฐตามจำนวนที่ต้องการ ซึ่งแตกต่างจากบ้านปกติ วัสดุส่วนใหญ่ที่ใช้จะเป็นแบบกึ่งสำเร็จรูป เช่นอิฐบล็อก ดังนั้นบ้านดินจึงใช้แรงงานในการก่อสร้างมาก แรงงาน 1 คน อาจจะสามารถทำอิฐดินจนเสร็จสิ้น 70 ก้อนต่อวัน การสร้างบ้านดิน จึงต้องจ่ายค่าแรงในการก่อสร้างจะมากกว่าบ้านปกติการสร้างบ้านดิน หากไม่เน้นความประณีต สวยงาม เพียงเป็นที่อยู่อาศัยที่เรียบง่าย งบประมาณที่ใช้จะน้อย หากต้องการบ้านดินที่มีคุณภาพสูง มีความประณีต สวยงาม จำเป็นต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญสูง และอาจต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการก่อสร้างที่นานขึ้น การฉาบสีบ้าน เราสามารถฉาบแบบง่าย ๆ ใช้เวลาเพียงครึ่งวันสำหรับบ้านหลังเล็ก แต่ถ้าหากต้องการผิวที่ละเอียด มีความแข็งแรงทนทาน จะต้องทำการรีดให้ผิวเรียบและต้องฉาบหลาย ๆ ครั้ง ขั้นตอนเหล่านี้ทำให้ต้นทุนในการก่อสร้างเพิ่มขึ้นได้ การรับจ้างสร้างบ้านดินในราคาถูกกว่าความเป็นจริง จะต้องดำเนินการอย่างรีบร้อนเพื่อไม่ให้ขาดทุน ผลงานที่ออกมาจึงไม่ดีเท่าที่ควร และอาจเกิดปัญหาได้ในภายหลัง การสร้างบ้านดินคุณภาพสูง การเลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพและมีราคาแพง ราคาของบ้านดินอาจจะเท่ากับบ้านปกติหรือบางครั้งอาจจะมีราคาสูงกว่าบ้านปกติก็อาจเป็นได้ ราคาของบ้านดิน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่จะสร้าง หากเป็นพื้นที่ ในเมืองราคาของบ้านดินจะสูง เพราะต้องซื้อวัสดุทุกอย่าง เช่นในกรุงเทพ ต้องตอกเสาเข็ม บ้านดินในเมืองจึงมีราคาสูงกว่าในชนบท โดยปกติแล้ว การสร้างบ้านดินจะไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนของโครงสร้างและผนัง งบประมาณในการก่อสร้างบ้านดิน ราคาจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 60 – 70 ของบ้านปกติบ้านดินขนาด 2 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ มุงด้วยกระเบื้องลอนสีขาว โครงหลังคาเหล็ก มีห้องนั่งเล่น สามารถสร้างได้โดยใช้งบประมาณ 3.5 แสนบาท หากสร้างในกรุงเทพฯ งบประมาณอาจจะสูงขึ้นถึง 5.5 แสนบาท เป็นต้นเอก สล่าเอื้องจัน1 เมษายน 2549